หมวดหมู่
Tokyo-Thailand Green Tech Business Connecting 2024 | Sustainability & Productivity
เข้าร่วมฟรีงาน Tokyo-Thailand Green Tech Business Connecting 2024 | Sustainability & Productivity กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ร่วมกับ Tokyo SME Support Center จัดงานสัมมนาแลกเปลี่ยนเครือข่าย ญี่ปุ่น-ไทย Tokyo-Thailand Green Tech Business Connecting 2024: Sustainability and Productivity เพื่อยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาการขนส่ง ตลอดจนการบริโภคและการกำจัดกากอุตสาหกรรม ให้เกิดความยั่งยืนในห่วงโซ่ของอุตสาหกรรม วันและเวลา: วันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2567 เวลา 13.30-18.30 น. (เปิดลงทะเบียน 12.30น.) สถานที่จัด: ชั้น 9 ห้อง Grand Ballroom | CARLTON Hotel Bangkok Sukhumvit จำนวนเปิดรับ: 300 คน ภาษาที่ใช้: ภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น (มีล่ามแปลภาษา) ☞ ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน https://bit.ly/GreenTechBusinessConnecting2024 ☞ เอกสารประชาสัมพันธ์ https://rb.gy/cw5y9w ------------------------- ติดต่อเพิ่มเติมที่ กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 02430 6867 ต่อ 1414 email: intercoop.dip@gmail.com
02 ต.ค. 2567
กองพัฒนดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมลงพื้นที่กำกับติดตามการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาประสิทธิภาพและยกระดับซัพพลายเชนมังคุด ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ลงพื้นที่กำกับติดตามการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาประสิทธิภาพและยกระดับซัพพลายเชนมังคุด ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระยะที่ 1 ???? ????ณ กลุ่มผู้ประกอบการรวบรวมและปลูกมังคุด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 22 กันยายน 2567 ???? นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรมพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ กท.กสอ. ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาประสิทธิภาพและยกระดับซัพพลายเชนมังคุด ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ระยะที่ 1 โดยได้ดำเนินการแนะนำการติดตั้ง และใช้งานระบบซอฟต์แวร์การจัดการซัพพลายเชนมังคุดและระบบติดตามตะกร้ามังคุด ให้แก่ผู้ประกอบการรวบรวมและปลูกมังคุด จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มท่าประจะ 2.กลุ่มน้ำดำ 3.กลุ่มชะอวดโปรดักษ์ 4.กลุ่มเกาะขันธ์รุ่งเรือง 5.กลุ่มชะอวดพัฒนา เพื่อนำร่องการใช้งานระบบปฏิบัติการดังกล่าว ????️ นอกจากเป็นการยกระดับการบริหารจัดการซัพพลายเชนมังคุดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กิจกรรมนี้ยังช่วยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ในการแข่งขันในตลาดระดับประเทศและนานาชาติ การดำเนินงานดังกล่าวมุ่งหวังให้เกิดการขยายตัวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่น #กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม #การพัฒนาซัพพลายเชน #มังคุดไทยก้าวไกล
23 ก.ย. 2567
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสากรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ติดตามการดำเนินงานกิจกรมการพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมฯ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำยวนการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม พร้อมเจ้าหน้าที่กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ติดตามการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิด BCG Model (BCG-driven Enterprise) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ณ บริษัท พี.เอส.วี.เคมีคอล จำกัด จากการวินิจฉัยพบว่าสถานประกอบการมีความต้องการด้านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (CFO) และการจัดทำโมเดลต้นแบบในการลดปริมาณก๊าสเรือนกระจกในการดำเนินดำเนินธุรกิจ
12 ก.ย. 2567
นางนวลจิตต์ เรืองศรีใส นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ ประธานคณะทำงาน SHAP กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม นำคณะทำงานฯ ติดตามและให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงาน กิจกรรม SHAP เป็นครั้งที่ 2 ณ บริษัท ลินเซ่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด จ.พระนครศรีอยุธยา
นางนวลจิตต์ เรืองศรีใส นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ ประธานคณะทำงาน SHAP กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม นำคณะทำงานฯ ติดตามและให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงาน กิจกรรม SHAP เป็นครั้งที่ 2 ณ บริษัท ลินเซ่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด จ.พระนครศรีอยุธยา โดยให้คำปรึกษาแนะนำ ดังนี้ การจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน SHAP แสดงผลการดำเนินงานให้ชัดเจนทั้ง 56 กิจกรรม ที่ได้ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ผล FEELING, FINDING, FUTURE ตามเกณฑ์ สสส. ที่กำหนด สำรวจและติดตามพื้นที่ความปลอดภัยในการเข้าทำงานในสายการผลิต และพื้นที่บริเวณให้พนักงานสูบบุหรี่ถูกต้อง ตามที่เครือข่าย สสส. และกรมอนามัยกำหนด สำรวจและติดตามโรงอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพพนักงาน ผ่านเกณฑ์อาหารสุขภาพ 2:1:1 และอาหารลดหวาน มันเค็ม 6:6:1 ตามที่เครือข่าย สสส. และกรมอนามัยกำหนด สำรวจและติดตามห้องพยาบาล ซึ่งมีพยาบาลวิชาชีพประจำบริษัท ตามเกณฑ์ สสส. ที่กำหนด ให้คำปรึกษาในการเตรียมความพร้อมในการประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรม ทั้งรูปแบบบอร์ดประชาสัมพันธ์และรูปแบบโทรทัศน์ เพื่อให้พนักงานเข้าถึง 100% และให้คำปรึกษาแนะนำเตรียมความพร้อมสำรวจ POST-HAPPIMETER เพื่อความสุขที่ยั่งยืน โดย SHAP ส่วนกลางจะเข้ามาติดตาม และสรุปผลต่อไป
06 ก.ย. 2567
กองพัมนาดิจิทัลอุตสาหกรรมจัดกิจกรรม ระดมคลังความคิดเพื่อสร้างสรรค์แผนปฏิบัติการ พัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
เมื่อวันพุธที่ 4 กันายายน 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม “ระดมคลังความคิดเพื่อสร้างสรรค์แผนปฏิบัติการ พัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรมฯ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า ภาคบริการ ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา หน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อนำประเด็นปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะ ในการร่วมกำหนดทิศทางการจัดทำกลยุทธ์และวางแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และนำไปสู่โครงการที่ตอบโจทย์ความต้องการ ตลอดจนเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาให้สอดรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมระดมความคิดเห็นซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 > ผู้ประกอบการ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า ภาคบริการ มีผู้เข้าร่วมกว่า 25 หน่วยงาน ร่วมแสดงความคิดเห็น ความต้องการได้รับการส่งเสริม สนับสนุน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประกอบการธุรกิจ กลุ่มที่ 2 > หน่วยงานภาครัฐ ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีผู้เข้าร่วมกว่า 12 หน่วยงาน ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการ
04 ก.ย. 2567
นางนวลจิตต์ เรืองศรีใส นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ ประธานคณะทำงาน SHAP กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม นำคณะทำงานฯ ติดตามและให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงาน กิจกรรม SHAP ณ บริษัท ลีซุ่นไถ่ (ไทยแลยด์) จำกัด จ.สมุทรปราการ
นางนวลจิตต์ เรืองศรีใส นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ ประธานคณะทำงาน SHAP กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม นำคณะทำงานฯ ติดตามและให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงาน กิจกรรม SHAP ณ บริษัท ลีซุ่นไถ่ (ไทยแลนด์) จำกัด จ.สมุทรปราการ โดยให้คำปรึกษาแนะนำ หัวข้อเรื่องดังนี้ 1. การบริหารการเพิ่มผลิตภาพด้วยหลัก 5ส. ในบริเวณพื้นที่งาน เปรียบเทียบก่อน - หลัง และต่อยอดการเพิ่มผลิตภาพด้วย KAIZEN เพื่อลดเวลาการทำงาน ให้สามารถได้งานมามากขึ้น 2. จัดเก็บสินค้าคงคลังให้สามารถตรวจสอบได้แบบ Real-time ทั้งเสนอแนะนำระบบโปรแกรม ERP มาประยุกต์ใช้ 3. จัดสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่ทำงานให้เป็นหมวดหมู่สบายตา เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้น่าทำงาน 4. ความก้าวหน้ารายงาน SHAP ที่จะต้องสรุปผลให้สอดคล้องกัน ทั้ง Happy และ Productivity ส่ง SHAP ส่วนกลางต่อไป
29 ส.ค 2567
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่หารือแแนวทางการขับเคลื่อนยกระดับซัพพลายเชนผลไม้ไทย
เมื่อวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2567 นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เพื่อหารือและศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนยกระดับซัพพลายเชนผลไม้ไทยเพื่อการส่งออก กับคุณกรกฎ เตติรานนท์ ประธานอาวุโสหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้ประกอบการส่งออกมังคุด คุณมณฑล ปริวัฒน์กรรมการบริหาร บริษัท อรษา ฟรุ๊ต จำกัด และรองนายกสมาคม ผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด DMA โดยได้หารือพร้อมเลือก มังคุด เป็นผลไม้นำร่อง เนื่องจาก ประเทศไทย เป็นผู้ส่งออกมังคุดเป็นอับดับหนึ่งของโลก โดยมีมูลค่าการส่งออก ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 มีมูลค่าการ ส่งออกถึง 17,191 ล้านบาท แต่ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่งออกมังคุด ยังประสบปัญหาหลายประการ เช่น ขาดเทคโนโลยีดิจิทัล นำมาบริหารจัดการ ในการวางระบบ ติดตาม ตรวจสอบ TMS + tracking code ไม่มีการวางแผน การวางแผน Demand & Supply node เป็นต้น ทำให้จำเป็น ต้องยกระดับและพัฒนา ผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างชาติได้โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มาเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้สามารถแข่งขันได้ ในภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน (red flag)แนวทางการพัฒนาซัพพลายเชนผลไม้เพื่อการส่งออก ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล จะแบ่งเป็น 4 เฟส คือ เฟสที่ 1 การศึกษาซัพพลายเชน และออกแบบเทคโนโลยีดิจิทัล ระบบ ที่เหมาะสมไปประยุกต์ใช้ เฟส 2 การออกแบบ Hardware ที่จะนำมาใช้ กับระบบที่ได้ ออกแบบไว้ เฟส 3 การส่งเสริม การเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรแปรรูป ด้วยงานวิจัย ที่ต่อยอดไปเป็น Product Champion เฟส 4 การสร้าง Brand เพื่อให้เกิดมูลค่าและความยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
26 ส.ค 2567
กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสหกิจด้วยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ติดตามเยี่ยมชมสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม
เมื่อวันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจทัล ติดตามเยี่ยมชมสถานประกอบการ ณ บริษัท ดูแล เฮลท์แคร์ จำกัด และบริษัท สหธาราวัฒน์ จำกัด ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มความสามารถ SME ให้ดีพร้อมด้วย ERP และกิจกรรมเสริมแกร่งภาคการผลิตให้ดีพร้อมไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Factory on Cloud)
20 ส.ค 2567
กลุ่มเพิ่มขีดความสารถวิสากิจด้วยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เข้าติดตามเยี่ยมชมสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม
เมื่อวันอังคารที่ 19 สิงหาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจทัล ติดตามเยี่ยมชมสถานประกอบการ ณ บริษัท จอย สปอร์ต จำกัด และบริษัท เอ็ม เอส ซี พีอาร์ สอง จำกัด ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลดิจิทัล (IoT&Embedded Teachnology) กิจกรรมเสริมแกร่งภาคการผลิตให้ดีพร้อมไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Smart factory on Cloud)
19 ส.ค 2567
กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจดวยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เข้ากำกับติดตามสถานประกอบการกิจกรรมเสริมแกร่งภาคการผลิตให้ดีพร้อมไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Factory on Cloud)
ในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล ติดตามและเยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท โพธิ์ทอง ไอซ์ 2016 จำกัด ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมแกร่งภาคการผลิตให้ดีพร้อมไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Factory on Cloud) สถานประกอบการประสบปัญหา ค่าไฟฟ้าที่สูง สาเหตุเกิดจากการทำงานของเครื่องจักรแต่ละครั้งไม่มีข้อมูล (Data) การใช้พลังงาน ส่งผลให้ไม่ทราบค่าการใช้พลังงานในแต่ละช่วงของการผลิต ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการพลังงานได้ดีพอ และไม่สามารถตรวจสอบ วางแผน และตัดสินใจในกระบวนการผลิตได้ จากการวินิจฉัยมีแนวทางในการติดตั้ง Sensor วัดกระแสไฟฟ้า (PZEM-004T Sensor) ซึ่งจะส่งข้อมูลจากการวัดกระแสไฟฟ้า (Electric Current) ไปยัง กล่องควบคุม (Control Box) ซึ่งใช้บอร์ด ESP32 ในการ Controller และส่งข้อมูลขึ้น Cloud Server แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์และแสดงผลเป็น Dashboard เพื่อติดตามและเก็บข้อมูล ทำให้ทราบข้อมูลพลังงานในแต่ละช่วงเวลา แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนกระบวนการผลิตต่อไป ซึ่งช่วยให้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้
31 ก.ค. 2567