หมวดหมู่
คุยข่าว 10 โมง ช่อง 5 วันที่ 27 ธ.ค. 60
https://www.youtube.com/watch?v=htjDKShSDoQ
27 ธ.ค. 2560
สภาเกษตรกรฯ ร่วมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนำเกษตรอุตสาหกรรมสู่กลุ่มน้ำอ้อยวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่
25 ธ.ค.60 นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงการขับเคลื่อน การปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเกษตรอุตสาหกรรมของสภาเกษตรกรแห่งชาติว่า ตัวอย่างความสำเร็จในการนำเกษตรอุตสาหกรรมนำสู่เกษตรกรคือ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จากแต่เดิมเกษตรกรปลูกอ้อยส่งโรงงาน โดยแต่ละครอบครัวจะมีพื้นที่ปลูก 20–30 ไร่ ต่อมาครอบครัวขยาย ทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยแต่ละครอบครัวจะลดลงเหลือ 5–10 ไร่ อีกทั้งความไม่แน่นอนเรื่องราคา,พื้นที่ปลูกน้อย,ผลผลิตที่ได้น้อย ทำให้มีความยากลำบากในการประกอบอาชีพ เมื่อสภาเกษตรกรฯมีนโยบายเกษตรอุตสาหกรรมมุ่งให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการขายวัตถุดิบให้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ในปี 2558 นายวิชิต พันธ์เพียร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรีจึงได้เกิดแนวคิดการทำน้ำอ้อย โดยรวมกลุ่มเกษตรกร เริ่มจากสมาชิก 40 คน วางแผนการผลิตโดยแบ่งพื้นที่ปลูกอ้อยส่งโรงงาน มาปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ด้วย และสามารถตัดได้ทั้งปี หลังปลูกได้ผลผลิตก็แปรรูปเป็น 2 ผลิตภัณฑ์คือลำอ้อยปอกเปลือกขายให้พ่อค้าที่คั้นน้ำอ้อยขาย และนำมาคั้นเป็นน้ำอ้อยขายให้บริษัทไร่ไม่จนจำกัดไปทำน้ำอ้อยพาสเจอร์ไรส์ ผลปรากฏว่าเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายอ้อยให้โรงงาน 900 บาท/ตัน เป็น 1,500 บาท/ตัน อ้อย 2 ตันคั้นน้ำอ้อยได้ 1 ตัน ราคาขายน้ำอ้อยตันละ 8,000 บาท กิจการไปได้ดีจึงจดทะเบียนเป็น “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” มีการวางแผนการปลูกให้สามารถคั้นน้ำอ้อยได้ทั้งปี การปลูกเป็นแบบอินทรีย์ น้ำอ้อยที่ได้จึงสะอาด 3 ปีที่ผ่านมากลุ่มมีรายได้เฉลี่ยปีละ 300,000-500,000 บาท รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์หลังหักค่าอ้อยให้สมาชิกแล้วคงเหลือกำไรจะจ่ายเพิ่มราคาให้สมาชิกและจัดสวัสดิการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกด้วย ด้าน นายจารุพันธุ์ จารโยภาส ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนของเกษตรกรเป็นเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาไปสู่ผู้ประกอบการ โดยเห็นว่าควรวางแผนการพัฒนาทำผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยให้หลากหลายเพิ่มขึ้นเช่น น้ำเชื่อม น้ำตาลปึก โดยมีรูปแบบเป็นก้อนจะสะดวกสำหรับคนเมือง หรือไปในแนวสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และหาแนวทางลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้เครื่องจักร โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพร้อมให้การสนับสนุน ซี่งการปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอุตสาหกรรมสามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้ทั้งปี ระบบกลุ่มมีความเข้มแข็ง เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สำหรับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีแผนงานร่วมมือกับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาตินำการพัฒนา 600 กลุ่มในปีนี้ ซึ่ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” เป็นกลุ่มเดียวที่ทำผลิตภัณฑ์น้ำอ้อย
26 ธ.ค. 2560
การสร้างธุรกิจเติบใหญ่ด้วย Online Marketing
กิจกรรมการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์และเทคนิกการสร้างธุรกิจให้เติบใหญ่ด้วย Online Marketing สู่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมฝึกอบรมครั้งนี้มากกว่า 300 ราย โดยวิทยากรในงานได้ถ่ายทอดประสบการและเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำตลาดพร้อมแนะนำการใช้เครื่องมือทางการทำตลาดเพื่อผู้ประกอบการได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการใช้ Google Trend การใช้ Facebook และ Facebook Fanpage อย่างมืออาชีพ การว่าคำสำคัญ (Key word) เทคนิคการทำให้สินค้ามีความโดดเด่นและน่าสนใจหาเจอได้ง่าย การวางโฆษณาอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ Line และ Line@ บริหารลูกค้าให้มีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจออนไลน์ของเรา และการขายสินค้าบน e-Market Place ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่เข้าฝึกอบรมมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าบน e-Market Place ได้ในที่สุด กิจกรรมฝึกอบรมนี้จัดโดย กองพัฒนาดิจิทลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ สมาพันธ์ SMEs ไทย โดย นายจารุพันธ์ จารโยภาส ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เป็นประะานเปิดงาน และนางสาวนิจรินทร์ โอภาสเถียร ผอ.กลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรมเป็นผู้กล่าวรายงาน
25 ธ.ค. 2560
สภาเกษตรกรฯร่วมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนำเกษตรอุตสาหกรรมสู่กลุ่มน้ำอ้อยวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่
นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวถึงการขับเคลื่อน การปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเกษตรอุตสาหกรรมของสภาเกษตรกรแห่งชาติ ว่า ตัวอย่างความสำเร็จในการนำเกษตรอุตสาหกรรมนำสู่เกษตรกรคือ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จากแต่เดิมเกษตรกรปลูกอ้อยส่งโรงงาน โดยแต่ละครอบครัวจะมีพื้นที่ปลูก 20 – 30 ไร่ ต่อมาครอบครัวขยาย ทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยแต่ละครอบครัวจะลดลงเหลือ 5 – 10 ไร่ อีกทั้งความไม่แน่นอนเรื่องราคา, พื้นที่ปลูกน้อย , ผลผลิตที่ได้น้อย ทำให้มีความยากลำบากในการประกอบอาชีพ เมื่อสภาเกษตรกรฯมีนโยบายเกษตรอุตสาหกรรมมุ่งให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการขายวัตถุดิบ ให้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ในปี 2558 นายวิชิต พันธ์เพียร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรีจึงได้เกิดแนวคิดการทำน้ำอ้อย โดยรวมกลุ่มเกษตรกร เริ่มจากสมาชิก 40 คน วางแผนการผลิตโดยแบ่งพื้นที่ปลูกอ้อยส่งโรงงาน มาปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ด้วย และสามารถตัดได้ทั้งปี หลังปลูกได้ผลผลิตก็แปรรูปเป็น 2 ผลิตภัณฑ์คือลำอ้อยปอกเปลือกขายให้พ่อค้าที่คั้นน้ำอ้อยขาย และนำมาคั้นเป็นน้ำอ้อยขายให้บริษัทไร่ไม่จนจำกัดไปทำน้ำอ้อยพาสเจอร์ไรส์ ผลปรากฏว่าเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายอ้อยให้โรงงาน 900 บาท/ตัน เป็น 1,500 บาท/ตัน อ้อย 2 ตันคั้นน้ำอ้อยได้ 1 ตัน ราคาขายน้ำอ้อยตันละ 8,000 บาท กิจการไปได้ดีจึงจดทะเบียนเป็น “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” มีการวางแผนการปลูกให้สามารถคั้นน้ำอ้อยได้ทั้งปี การปลูกเป็นแบบอินทรีย์ น้ำอ้อยที่ได้จึงสะอาด 3 ปีที่ผ่านมากลุ่มมีรายได้เฉลี่ยปีละ 300,000 – 500,000 บาท รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์หลังหักค่าอ้อยให้สมาชิกแล้วคงเหลือกำไรจะจ่ายเพิ่มราคาให้สมาชิกและจัดสวัสดิการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกด้วย ด้านนายจารุพันธุ์ จารโยภาส ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนของเกษตรกรเป็นเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาไปสู่ผู้ประกอบการ โดยเห็นว่าควรวางแผนการพัฒนาทำผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยให้หลากหลายเพิ่มขึ้นเช่น น้ำเชื่อม น้ำตาลปึก โดยมีรูปแบบเป็นก้อนจะสะดวกสำหรับคนเมือง หรือไปในแนวสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และหาแนวทางลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้เครื่องจักร โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพร้อมให้การสนับสนุน ซี่งการปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอุตสาหกรรมสามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้ทั้งปี ระบบกลุ่มมีความเข้มแข็ง เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นสำหรับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีแผนงานร่วมมือกับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาตินำการพัฒนา 600 กลุ่มในปีนี้ ซึ่ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” เป็นกลุ่มเดียวที่ทำผลิตภัณฑ์น้ำอ้อย
25 ธ.ค. 2560
สภาเกษตรกรฯ ร่วมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนำเกษตรอุตสาหกรรมสู่กลุ่มน้ำอ้อยวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่
วันนี้ (25 ธ.ค.60) นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงการขับเคลื่อน การปฏิรูปภาคการเกษตรด้วยเกษตรอุตสาหกรรมของสภาเกษตรกรแห่งชาติว่า ตัวอย่างความสำเร็จในการนำเกษตรอุตสาหกรรมนำสู่เกษตรกรคือ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จากแต่เดิมเกษตรกรปลูกอ้อยส่งโรงงาน โดยแต่ละครอบครัวจะมีพื้นที่ปลูก 20–30 ไร่ ต่อมาครอบครัวขยาย ทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยแต่ละครอบครัวจะลดลงเหลือ 5–10 ไร่ อีกทั้งความไม่แน่นอนเรื่องราคา,พื้นที่ปลูกน้อย,ผลผลิตที่ได้น้อย ทำให้มีความยากลำบากในการประกอบอาชีพ เมื่อสภาเกษตรกรฯมีนโยบายเกษตรอุตสาหกรรมมุ่งให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการขายวัตถุดิบให้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ในปี 2558 นายวิชิต พันธ์เพียร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรีจึงได้เกิดแนวคิดการทำน้ำอ้อย โดยรวมกลุ่มเกษตรกร เริ่มจากสมาชิก 40 คน วางแผนการผลิตโดยแบ่งพื้นที่ปลูกอ้อยส่งโรงงาน มาปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ด้วย และสามารถตัดได้ทั้งปี หลังปลูกได้ผลผลิตก็แปรรูปเป็น 2 ผลิตภัณฑ์คือลำอ้อยปอกเปลือกขายให้พ่อค้าที่คั้นน้ำอ้อยขาย และนำมาคั้นเป็นน้ำอ้อยขายให้บริษัทไร่ไม่จนจำกัดไปทำน้ำอ้อยพาสเจอร์ไรส์ ผลปรากฏว่าเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายอ้อยให้โรงงาน 900 บาท/ตัน เป็น 1,500 บาท/ตัน อ้อย 2 ตันคั้นน้ำอ้อยได้ 1 ตัน ราคาขายน้ำอ้อยตันละ 8,000 บาท กิจการไปได้ดีจึงจดทะเบียนเป็น “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” มีการวางแผนการปลูกให้สามารถคั้นน้ำอ้อยได้ทั้งปี การปลูกเป็นแบบอินทรีย์ น้ำอ้อยที่ได้จึงสะอาด 3 ปีที่ผ่านมากลุ่มมีรายได้เฉลี่ยปีละ 300,000-500,000 บาท รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์หลังหักค่าอ้อยให้สมาชิกแล้วคงเหลือกำไรจะจ่ายเพิ่มราคาให้สมาชิกและจัดสวัสดิการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกด้วยด้าน นายจารุพันธุ์ จารโยภาส ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนของเกษตรกรเป็นเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาไปสู่ผู้ประกอบการ โดยเห็นว่าควรวางแผนการพัฒนาทำผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยให้หลากหลายเพิ่มขึ้นเช่น น้ำเชื่อม น้ำตาลปึก โดยมีรูปแบบเป็นก้อนจะสะดวกสำหรับคนเมือง หรือไปในแนวสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และหาแนวทางลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้เครื่องจักร โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพร้อมให้การสนับสนุน ซี่งการปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอุตสาหกรรมสามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้ทั้งปี ระบบกลุ่มมีความเข้มแข็ง เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สำหรับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีแผนงานร่วมมือกับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาตินำการพัฒนา 600 กลุ่มในปีนี้ ซึ่ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” เป็นกลุ่มเดียวที่ทำผลิตภัณฑ์น้ำอ้อย
25 ธ.ค. 2560
จัดหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "สร้างธุรกิจเติบโตด้วย Online Marketing" (สงขลา)
วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "สร้างธุรกิจเติบโตด้วย Online Marketing" ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดออนไลน์ในการขยายตลาด เพิ่มช่องทางการจำหน่าย เป็นการยกระดับการตลาดและขยายตลาดสู่สากล ในการนี้ได้รับเกียรติจาก นายสุรชัย กลางพระเนตร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 เป็นประธานเปิดการอบรมฯ และกล่าวรายงานโดย นางสาวนิจรินทร์ โอภาสเสถียร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรมณ โรงแรมหรรษา เจบี จ.สงขลาซึ่งผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้ให้ความสนใจถึง 270ราย จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ 200 ราย กลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม
22 ธ.ค. 2560
จัดหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "สร้างธุรกิจเติบโตด้วย Online Marketing" (ยะลา)
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ชายแดนใต้ จัดอบรมหลักสูตร Online Marketing ติดอาวุธธุรกิจพันธุ์ใหม่ให้ SMEs ไทยก้าวไกลสู่ Thailand 4.0 ที่จังหวัดยะลา โรงแรมยะลาแกรนด์ นายจารุพันธ์ จารโยภาส ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฎิบัติการ สร้างธุรกิจให้เติบโตด้วย On line Marketing สร้างนักธุรกิจพันธุ์ใหม่ 4.0 และสร้างโอกาส ช่องทางการตลาดใหม่ ให้กับผู้ประกอบการรายเดี่ยว SMEs ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยมีประชาชนเข้าร่วมอบรมกว่า 200 คน โครงการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมและให้ความรู้ ประชาชน ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถนำสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ออกมาจำหน่ายได้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยกองพัฒนาดิจิทัล อุตสาหกรรม จึงได้มาส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด สร้างโอกาส สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนใต้
22 ธ.ค. 2560
การเข้าฝึกอบรมหลักสูตรการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการด้วย Digital training สู้อุตสหกรรม 4.0
การเข้าฝึกอบรมหลักสูตรการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการด้วย Digital training สู้อุตสหกรรม 4.0
22 ธ.ค. 2560