Category
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดนิทรรศการวิชาการ "อุตสาหกรรมเซรามิก 4.0 : Ceramic Industry 4.0"
จังหวัดลำปาง : วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการวิชาการ "อุตสาหกรรมเซรามิก 4.0 : Ceramic Industry 4.0" โดยมี... นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพรเทพ การศัพท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายจารุพันธุ์ จารโยภาส ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมทั้งข้าราชการในกระทรวงอุตสาหกรรม สื่อมวลชน ร่วมงานซึ่งการจัดงานในครั้งนี้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19-23 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าเซรามิกและหัตถกรรม จังหวัดลำปาง กิจกรรมภายในงานประกอบไปด้วย การแสดงงานนิทรรศการวิชาการ... ซึ่งกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มาจัดแสดงนิทรรศการแนะนำกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดแสดงบูธการพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีระบบควบคุมอัจฉริยะ (Cyber Physical System : CPS) แสดงบูธการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะ (Smart Tourism)และ แสดงบูธรับสมัครผู้ประกอบการ SMEs/Start ups ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสะอาด เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถนวัตกรรมเทคโนโลยีสะอาด ประจำปีงบประมาณ 2561, การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดอบรมหลักสูตร "สร้างธุรกิจเติบใหญ่ด้วย Online Marketing" การจัดกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำ, การจำหน่ายสินค้าเซรามิกและวิสาหกิจชุมชนตลอดจนสินค้าอุปโภคบริโภคจากธงฟ้าราคาถูก, การออกร้านจำหน่ายและลงทะเบียนสมาชิก Biz Club, การจัดแสดงนิทรรศการผลงานเชิงช่างของกลุ่มศิลปิน อาทิ คุณพิทักษ์ นิรภัย, คุณจงรักษ์ จิวกิตติศักดิ์กุล ฯลฯ การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ, โดยคาดหวังว่าการจัดงานในครั้งนี้จะเกิดการต่อยอดองค์ความรู้ ด้านเทคโนโลยีการผลิต ช่องทางการแข่งขันของทางธุรกิจอุตสาหกรรมเซรามิก
21 ก.พ. 2018
กิจกรรมเพิ่มผลิตภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่อุตสาหกรรม 4.0
การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการ Supply Chain อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยีระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร (Enterprise Resource Planning:ERP ] และ/หรือระบบของกองพิกัดผ่านทางดาวเทียม [Global Positiong System : GPS] ตั้งแต่วันนี้ 28 กุมภาพันธ์ 2561 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โทร 097-154-6151 wanthanee.me@ssru.ac.th like @lol9114Bn,bobow3097 www.cis.ssru.a
20 ก.พ. 2018
กิจกรรมการพัฒนาผลิตภาพอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
กิจกรรมการพัฒนาผลิตภาพอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ภายใต้โครงการ เพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมาย เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2561 โทร 097-154-6151 Email. wanthanee.me@ssru.ac.th Line @ loo9148n.bobow3097 www.cis.ssru.a
20 ก.พ. 2018
การตลาดออนไลน์ปั้นยอดขายอย่างมืออาชีพ 2
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การตลาดออนไลน์ปั้นยอดขายอย่างมืออาชีพ เรียนรู้เทคนิคการตลาดด้วย FACEBOOK PAGE และเทคนิคการซื้อโฆษณาอย่างมืออาชีพ เพื่อสร้างยอดขาย ***สำหรับเจ้าของ /หุ้นส่วน /ทายาทธุรกิจ SME ***ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล หรือทะเบียนการค้าแล้วสมัครได้ 1 ท่าน/กิจการ สามารถนำโน้ตบุ๊คเข้า workshop ได้(ปิดรับสมัคร เต็มแล้ว) ** สมัครแล้ว add line : digital.mkt เพื่อส่งสำเนาบัตรประชาชน เขียนทับว่า ใช้สมัครเข้าร่วมการอบรมกับ กสอ.เท่านั้น กรอกใบสมัครออนไลน์ >>> https://goo.gl/forms/PouYUG3hIApbdCRC2ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรม ไพร์ม เซ็นทรัล สเตชั่น หัวลำโพง กรุงเทพฯ กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม86/6 ซ.ตรีมิตร กล้วยน้ำไท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯโทร.02-3678190
19 ก.พ. 2018
การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการตามมาตรการพิเศษ เพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 ณ จังหวัดลำปาง
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561 นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนายพรเทพ การศัพท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมนายสมศักดิ์ หวลกสิน อุตสาหกรรมจังหวัดลำปางนายจารุพันธุ์ จารโยภาส ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพร้อมด้วย คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ข้าราชการในท้องที่ สื่อมวลชน ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการตามมาตรการพิเศษ เพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานด้าน CSR ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง พร้อมรับฟังบรรยายการดำเนินกิจกรรม CSR ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ ด้านการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องหอม ล้านนานอกจากนี้ยังซึ่งได้เยี่ยมชมกลุ่มโรงสีข้าวกล้องบ้านแป้นใต้ ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เพื่อร่วมหารือเรื่อง การฟื้นฟูและอนุรักษ์วิถีชุมชา วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวกล้อง ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม โดยข้าวกล้องสามารถป้องกันมะเร็งและผิวหนังเหี่ยวย่นได้เยี่ยมชม กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว ณ ไร่กาญจนา วิสาหกิจบ้านแจ้คอน ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เน้นการแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม/พัฒนาบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ มะนาวผง น้ำมะนาวสดเยี่ยมชมกลุ่มไผ่เพชรล้านนาฟาร์ม ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นแหล่งเกษตรอินทรีย์ โดยหารือแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน เชื่อมโยงการท่องเที่ยง อันเป็นการบูรณาการทำงานทุกภาคส่วน ตามนโยบายรัฐบาล (Local Economy) ในมาตรการที่ 9
19 ก.พ. 2018
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "สร้างธุรกิจเติบใหญ่ด้วย Online Marketing" ณ จังหวัดลำปาง
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "สร้างธุรกิจเติบใหญ่ด้วย Online Marketing" ณ จังหวัดลำปาง เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าใจการทำธุรกิจบนโลก Online ฝึกทักษะเทคนิคและความชำนาญ ใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด เพิ่มช่องทางและขยายตลาดสู่สากล โดยกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดหลักสูตรนี้ขึ้นและได้รับเกียรติจาก นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมฯ กล่าวรายงานโดย นายจารุพันธุ์ จารโยภาส ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติประกอบไปด้วย นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ, ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย, นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 โดยมี ภญ.โสภา พิมพ์สิริพาณิชย์ และทีมงานเป็นวิทยากรบรรยาย งานนี้จัดขึ้น ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าเซรามิกและหัตกรรม อ.เกาะคา จ.ลำปาง ในวันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 มีผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึงของการขับเคลื่อนประเทศไทย สู่ยุค 4.0 ประมาณ 200 ราย
19 ก.พ. 2018
การประชุมหารือแนวทางการดำเนินโครงการปั้นธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ
วันที่ 16 ก.พ.2561 เวลา 09.30 - 12.00 น.นายจารุพันธ์ุ จารโยภาส ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรมเป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการดำเนินโครงการปั้นธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 โดยมีกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ 300 กลุ่ม/55,000 คน แบ่งเป็น- การสร้างการรับรู้และสร้างองค์ความรู้ การอบรมบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการ (Farmer to Entrepreneur) 55,000 คน- ให้คำปรึกษาแนะนำการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น (Value Added) 300 กลุ่ม- สนับสนุนโดยจัดตั้งหน่วยผลิตอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปต้นแบบในพื้นที่ 50 กลุ่มซึ่งประธานได้มอบหมายงานให้แต่ละเครือข่ายจัดทำแผนงานที่ทำได้จริง เห็นผลจริง อาทิ การบริหารจัดการ/การเงิน/บัญชีเดี่ยว, การตลาด การเชื่อมโยงเครือข่าย, การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมูลค่าที่เกิดนวัตกรรมใหม่ ฯลฯ โครงการฯ มีระยะเวลา 6 เดือน (เมษายน - กันยายน 2561)โดยมี...นายอรุณ มูลชนะ ประธานเครือข่ายสมุนไพรแห่งประเทศไทยนายพงศ์ไท แสงจันทร์ ประธานเครือข่ายสมุนไพรจังหวัดสกลนครนายสมัย คูณสุข ประธานเครือข่ายสมุนไพรจังหวัดปราจีนบุรีนางพวงรัตน์ แสงเพชร์ รองประธานเครือข่ายสมุนไพรสามัคคี อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายและแขกผู้มีเกียรติ ร่วมประชุมหารือในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม 501 อาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
16 ก.พ. 2018
ผลักดันภาคเกษตรอุตสาหกรรม พัฒนาเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการ
นายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตัวอย่างความสำเร็จในการนำเกษตรอุตสาหกรรมนำสู่เกษตรกร คือ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จากเดิมเกษตรกรปลูกอ้อยส่งโรงงาน ครอบครัวละประมาณ 20-30 ไร่ ต่อมาครอบครัวขยาย ทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยแต่ละครอบครัวจะลดลงเหลือ 5-10 ไร่ เมื่อสภาเกษตรกรฯ มีนโยบายเกษตรอุตสาหกรรมมุ่งให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการขายวัตถุดิบ ให้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ในปี 2558 นายวิชิต พันธ์เพียร ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรีจึงได้เกิดแนวคิดการทำน้ำอ้อย โดยรวมกลุ่มเกษตรกร เริ่มจากสมาชิก 40 คน วางแผนการผลิตโดยแบ่งพื้นที่ปลูกอ้อยส่งโรงงาน มาปลูกอ้อยพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ด้วย และสามารถตัดได้ทั้งปี หลังปลูกได้ผลผลิตก็แปรรูปเป็น 2 ผลิตภัณฑ์คือลำอ้อยปอกเปลือกขายให้พ่อค้าที่คั้นน้ำอ้อยขาย และนำมาคั้นเป็นน้ำอ้อยขายให้บริษัทไร่ไม่จนจำกัด ไปทำน้ำอ้อยพาสเจอร์ไรส์ ผลปรากฏว่าเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายอ้อยให้โรงงาน 900 บาท/ตัน เป็น 1,500 บาท/ตัน อ้อย 2 ตันคั้นน้ำอ้อยได้ 1 ตัน ราคาขายน้ำอ้อยตันละ 8,000 บาท กิจการไปได้ดีจึงจดทะเบียนเป็น “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” มีการวางแผนการปลูกให้สามารถคั้นน้ำอ้อยได้ทั้งปี นายจารุพันธุ์ จารโยภาส ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนของเกษตรกรเป็นเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาไปสู่ผู้ประกอบการ โ1ดยเห็นว่าควรวางแผนการพัฒนาทำผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยให้หลากหลายเพิ่มขึ้นเช่น น้ำเชื่อม น้ำตาลปึก โดยมีรูปแบบเป็นก้อนจะสะดวกสำหรับคนเมือง หรือไปในแนวสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และหาแนวทางลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้เครื่องจักร โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพร้อมให้การสนับสนุน ซี่งการปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอุตสาหกรรมสามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้ทั้งปี ระบบกลุ่มมีความเข้มแข็ง เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สำหรับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีแผนงานร่วมมือกับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาตินำการพัฒนา 600 กลุ่มในปีนี้ ซึ่ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกรับใหญ่” เป็นกลุ่มเดียวที่ทำผลิตภัณฑ์น้ำอ้อย
15 ก.พ. 2018
พิธีเปิดงานสวนสมุนไพรฮันนี่โรส การ์เด้นและเปิดตัวแอพพลิเคชั่นท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Thai Indy)
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561นายจารุพันธุ์ จารโยภาสผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดงานสวนสมุนไพรฮันนี่โรส การ์เด้นและเปิดตัวแอพพลิเคชั่นท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Thai Indy) พร้อมด้วยคุณสุนทร ภู่ไพบูล รองนายกเทศบาลนครเกาะสมุยคุณธัญญะ พูลสวัสดิ์ ประธานกรรมการบริษัทประชารัฐรักสามัคคี สุราษฎร์ธานีคุณอรุณ มูลชนะ ประธานเครือข่ายสมุนไพรแห่งประเทศไทยประธานเครือข่ายสมุนไพรทุกภาค และแขกผู้มีเกียรติทุกท่านซิึงกิจกรรมนี้เป็นการส่งเสริมเครือข่ายสมุนไพรอย่างจริงจังและต่อเนื่องให้มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน SMEs ให้มีโอกาสในการพัฒนาต่อยอดให้สมุนไพรเป็นสินค้าหลัก ส่งเสริมให้รากหญ้าเข้มแข็ง อันถือเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในประเทศให้ดีขี้น เป็นการเชื่อมโยง โครงการสมุนไพรปีงบประมาณ 2560 ต่อยอดสู่โครงการ Smart Tourism สำหรับปีงบประมาณ 2561 โดยมีการนำระบบเทคโนโลยีการท่องเที่ยวอัจฉริยะ "ไทยอินดี้" มาประยุกต์ใช้ ซึ่งสิ่งที่วิสาหกิจและผู้ประกอบการจะได้รับคือ การรู้ดิจิทัล ช่องทางการตลาดเชิงดิจิทัล การเพิ่มยอดขาย การสร้างอัตลักษณ์ของผู้ประกอบการ รวมถึงเครือข่ายที่เข้มแข็งย่อมนำมาซึ่งความสุขของชีวิตการทำงานณ สวนสมุนไพรฮันนี่โรส การ์เด้น เลขที่ 23 หมู่ที่ 2 ต.อ่างทอง อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
14 ก.พ. 2018
กสอ.ปั้นเกษตรแปรรูป
กสอ.จับมือสภาอุตฯ สภาเกษตรกรฯ ปั้นเกษตรสู่นักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ผ่านแนวทางประชารัฐ ปีนี้ ปีแรกตั้งเป้าดึงเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 600 กลุ่ม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)และสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ "ปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย(SMEs เกษตร)ตามแนวทางประชารัฐ" เพื่อมุ่งยกระดับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรไทย โดยการปรับเปลี่ยนจากการขายผลผลิตในรูปวัตถุดิบที่ได้ราคาต่ำไปเป็นการทำเกษตรอุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมโยงตั้งแต่การผลิต การแปรรูปจนถึงการตลาดอย่างครบวงจร รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย(SMEs เกษตร) ตามแนวทางประชารัฐเป็น 1 ใน 9 มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 และถือเป็นความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนฐานรากหรือ Local Economy ผ่านแนวทางประชารัฐ เพื่อช่วยสร้างงาน สร้างโอกาส สร้างรายแก่เศรษฐกิจฐานราก โดยมีกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย 600 กลุ่มทั่วประเทศ จำนวน 55,000 คน ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนเมษายนที่จะถึงนี้ไปจนถึงเดือนกันยายน 2561 คาดว่าจะสามารถสร้างผู้ประกอบการเกษตรแปรรูปและ SMEs เกษตรเพิ่มขึ้นได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 นายเจน นำชัยศิริ ประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า ส.อ.ท.โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร จะสนับสนุนด้านการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรอย่างถูกวิธีและนำเสนอเครื่องจักรพร้อมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามความเหมาะสมของแต่ละกลุ่มวิสาหกิจที่เข้าร่วมโครงการ มีการประสานการดำเนินโครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และให้ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและสภาเกษตรกรแห่งชาติในการบริหารติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยประชากรมากถึงร้อยละ 40 อยู่ในภาคการเกษตรแต่ผลผลิตมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 9 ของ GDP ประเทศเท่านั้น ซึ่งถือว่าผิดปกติ ขณะที่อายุเฉลี่ยของเกษตรกรไทยอยู่ที่ 55 ปีในขณะที่คนรุ่นใหม่ไม่เข้าสู่อาชีพนี้เลย ต่างจากประเทศจีนที่คนรุ่นหนุ่มสาวหันเข้าสู่อาชีพเกษตรขึ้น นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกสอ.กล่าวว่า โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย( SMEs เกษตร)ตามแนวทางประชารัฐ ระยะที่ 2 ที่จะดำเนินการในปีต่อไป จะดึงเกษตรกรเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าโครงการระยะแรก ที่มีเกษตรกรเข้าร่วม 600 กลุ่ม และเชื่อว่าภายใน 4 ปีนับจากนี้ไปจะผลักดันให้เกษตรกรที่มีทั้งหมด 2,500 กลุ่มได้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด สำหรับ กสอ.จะชี้แจงทำความเข้าใจรายละเอียดและประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการให้กับวิสาหกิจกลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งติดตามการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการโดยมีกิจกรรมทั้งสิ้น 3 กิจกรรมคือ การอบรมบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการ (Farmer to Entrepreneur) การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น(Value Added)และสนับสนุนโดยจัดตั้งหน่วยผลิตอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปต้นแบบในพื้นที่ โดยการดำเนินการจะบูรณาการความร่วมมือกับหลายภาคส่วนตามแนวทางประชารัฐ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติกล่าวว่า ประเทศไทยมีกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศรวมกว่า 2,500 กลุ่ม จะพยายามผลักดันเข้าสู่โครงการปั้นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวทางประชารัฐให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้-สำนักข่าวไทย
13 ก.พ. 2018