ปรับปรุงมาตรการการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : ปรับปรุงมาตรการการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น เพื่อช่วยให้ลูกหนี้ได้รับดอกเบี้ยลดลงจากเดิม ลดวงเงินค่างวดให้ผ่อนชำระในระหว่างฟื้นฟูเศรษฐกิจช่วงโควิด-19 โดย ขยายขอบเขตให้รวมหนี้ข้ามสถาบันการเงิน ข้ามไปยังผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) และธนาคารรัฐได้ จากเดิมรวมหนี้ได้เฉพาะหนี้สถาบันการเงินเดียวกัน คาดเริ่มใช้สิ้นเดือน ธ.ค.64-31 ธ.ค.66 พร้อมปรับวิธีการรวมหนี้ตามแนวทางใหม่ โดยทำได้ 3 แนวทางคือ 1. การนำหนี้รายย่อยจากสถาบันการเงิน หรือนอนแบงก์อื่นมารวมกับหนี้ของสถาบันการเงินที่ลูกหนี้มีสินเชื่อบ้านอยู่ โดยรีไฟแนนซ์สินเชื่อรายย่อย ปิดยอดจากที่เดิม แล้วมารวมกับสินเชื่อบ้านที่มีอยู่ 2. ให้นำหนี้บ้านจากสถาบันการเงิน หรือนอนแบงก์อื่นมารวมกับสินเชื่อรายย่อยที่มีอยู่ โดยให้รีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้าน ปิดยอดจากที่เดิมมารวมได้ 3. รีไฟแนนซ์ทั้งสินเชื่อบ้านและสินเชื่อรายย่อยจากสถาบันการเงินเดิมมารวมในสถาบันการเงินใหม่ โดยหลักการรวมหนี้ วงเงินสินเชื่อใหม่ที่รวมกันต้องต่ำกว่าราคาบ้านที่ใช้เป็นหลักประกัน นอกจากนี้ ยังกำหนดอัตราดอกเบี้ยหลังจากรวมหนี้ไว้ด้วย เพื่อให้ลูกหนี้ได้รับดอกเบี้ยที่ลดลงจากเดิม เพราะมีบ้านเป็นหลักประกันแล้ว โดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้คิดดอกเบี้ยไม่เกินดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม ส่วนสินเชื่อรายย่อยที่นำมารวมหนี้ หากเคยคิดที่ 16-28% ให้กำหนดดอกเบี้ยใหม่ได้ไม่เกินดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย บวก 2% ต่อปี เช่น หากดอกเบี้ยบ้าน 6% ให้คิดได้ไม่เกิน 8% ส่วนกรณีที่รับโอนสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น ให้คิดดอกเบี้ยบ้านตามความเสี่ยงของลูกหนี้ และบวกเพิ่มไม่เกิน 2% สำหรับสินเชื่อรายย่อย ระยะเวลาดำเนินการโครงการ/กิจกรรม : ที่มา : https://mgronline.com/stockmarket/detail/9640000120590 ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม : เบอร์โทรศัพท์ : 02 283 5353 Line หน่วยงาน : @bankofthailand Website : www.bot.or.th Facebook Page : ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand
14 ธ.ค. 2564
บอร์ด สสว. ไฟเขียวจัดเงินกองทุน 1,224 ล้านช่วยเอสเอ็มอี
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : บอร์ด สสว. ไฟเขียวจัดเงินกองทุน 1,224 ล้านช่วยเอสเอ็มอี นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบจัดสรรเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำปี 65 จำนวน 1,224.8 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายย่อย (ไมโครเอสเอ็มอี) ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้อยู่รอด หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และช่วยบรรเทาปัญหาพร้อมทั้งฟื้นฟูธุรกิจ พร้อมกับสร้างความพร้อมให้เอสเอ็มอีเข้าสู่การแข่งขันได้ต่อไป นายธนกร กล่าวว่า นายกฯ ยังกำชับให้เร่งแก้อุปสรรคและข้อจำกัดการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเอสเอ็มอี โดยจัดทำข้อมูลของเอสเอ็มอี ให้ชัดเจนเพื่อใช้พิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มเข้าถึงสินเชื่อและแหล่งเงินทุนแต่ละประเภท รวมทั้งใช้ข้อมูลการบริหารงบประมาณของในส่วนของการพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัดประกอบด้วย เพื่อเร่งสร้างงานและรายได้ให้กับประชาชนได้มากขึ้น รวมทั้งมอบหมาย สสว. หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรออนไลน์และการขนส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค และยืนยันรัฐบาลพร้อมแก้ปัญหาหนี้ให้ได้โดยเร็วที่สุด แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.dailynews.co.th/news/198556/ ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : โทร. 1301 (สสว.) Website หน่วยงาน : https://www.sme.go.th/th/
01 ก.ย. 2564
ครม. ขยายมาตรการเยียวยาแรงงาน-ผู้ประกอบการ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ปรับกรอบวงเงินเป็น 6 หมื่นล้าน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : ครม. ขยายมาตรการเยียวยาแรงงาน-ผู้ประกอบการ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ปรับกรอบวงเงินเป็น 6 หมื่นล้าน ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบขยายขอบเขตมาตรการบรรเทาผลกระทบและให้ความช่วยเหลือกลุ่มแรงงาน ผู้ประกอบการ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 พร้อมขยายกรอบวงเงินการให้ความช่วยเหลือ เพิ่มเป็น 60,000 ล้านบาท จากเดิม 30,000 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้ 1. ปรับเพิ่มพื้นที่ดำเนินการจากเดิม 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด ได้แก่ กทม. กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครนายก นครราชสีมา นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี อยุธยา เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยะลา ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สงขลา สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สุพรรณบุรีและอ่างทอง 2. กลุ่มเป้าหมายให้ความช่วยเหลือ ยังคงครอบคลุมกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการในกิจการที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในส่วนที่อยู่ในระบบประกันสังคมและไม่อยู่ในระบบประกันสังคม 3. ประเภทกิจการที่ให้ความช่วยเหลือ คือ กิจการในระบบประกันสังคมจะครอบคลุม 9 สาขาและในกลุ่มผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” ภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะในปัจจุบันที่ผ่านการคัดกรองแล้วและไม่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิ์จากกระทรวงการคลัง จำนวน 5 กลุ่ม 4. รูปแบบการให้ความช่วยเหลือเป็นไปตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 64 5. ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือกลุ่ม 13 จังหวัดเดิม ได้แก่ ก.ค.-ส.ค. 64 (2 เดือน) กลุ่ม 16 จังหวัดที่เพิ่มเติม คือ ส.ค. 64 (1เดือน) แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.thaipost.net/main/detail/112074 ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : 02-288-4000 Website หน่วยงาน : http://www.thaigov.go.th
06 ส.ค 2564
วิธีสมัครประกันสังคมมาตรา 40 www.sso.go.th รับ 5,000 บาท ง่ายไปอีก!
ชื่อโครงการ/กิจกรรม วิธีสมัครประกันสังคมมาตรา 40 www.sso.go.th รับ 5,000 บาท ง่ายไปอีก! ผู้ที่มีอาชีพอิสระ หรือฟรีแลนซ์ รวมถึงผู้ที่อยู่นอกระบบประกันสังคมที่อยู่ในพื้นที่ 29 จังหวัด ที่รัฐบาลประกาศให้เป็นพื้นที่สีแดงและคุมเข้มการระบาดของไวรัสโควิด-19 สามารถลงทะเบียนสมัครประกันสังคมมาตรา 40 เพื่อขอรับเงินเยียวยาประกันสังคมจำนวน 5,000 บาทได้ คุณสมบัติผู้สมัคร ม.40 มีสัญชาติไทย อายุ 15-65 ปีบริบูรณ์ เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (มาตรา 33) ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย00) ผู้พิการที่รับรู้สิทธิก็สมัครได้ ช่องทางการสมัคร เซเว่น-อีเลฟเว่น ทุกสาขา ธนาคาร ธ.ก.ส. ทุกสาขา เว็บไซต์ www.sso.go.th Big C ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ เครือข่ายประกันสังคม ทั่วประเทศ สายด่วนประกันสังคม 1506 แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.sanook.com/money/840052/ ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม : เบอร์โทรศัพท์ : สายด่วน 1506 E-mail : ssoeditorial@gmail.com Website หน่วยงาน : https://www.sso.go.th Facebook Fanpage : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
06 ส.ค 2564
พักชำระหนี้ เงินต้นและดอกเบี้ยนาน 6 เดือน สำหรับลูกหนี้รายย่อย
ชื่อโครงการ / กิจกรรม : พักชำระหนี้ เงินต้นและดอกเบี้ยนาน 6 เดือน สำหรับลูกหนี้รายย่อย มาตรการพักชำระหนี้ลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท และไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน สำหรับผู้ได้รับผลกระทบทำให้ต้องเลิกกิจการ ถูกเลิกจ้าง ขาดรายได้ ฯลฯ (ยกเว้นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ) โดยพักเงินงวดผ่อนชำระให้สูงสุด 6 งวด เริ่มตั้งแต่งวดเดือนกรกฎาคม-เดือนธันวาคม 2564 หลังจากนั้นเมื่อสิ้นสุดระยะการพักชำระหนี้ ให้กลับมาจ่ายเงินงวดตามเงื่อนไขเดิม โดยเงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้พักไว้ จะถูกนำไปรวมชำระในงวดสุดท้ายของสัญญาเงินกู้หรือข้อตกลงที่ทำกับธนาคาร ทั้งนี้ ช่วงระยะเวลาที่พักชำระหนี้ ไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระและไม่ส่งผลต่อข้อมูลเครดิตของลูกค้า รวมถึงไม่มีดอกเบี้ยผิดนัดชำระและค่าปรับใด ๆ โดยธนาคารแบ่งความช่วยเหลือเป็น 2 เฟส เริ่มเฟสแรกวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 และเฟสที่สองช่วงเดือนสิงหาคม ลูกค้าจะทยอยได้รับ SMS หรือ Notification แจ้งทางแอป MyMo ให้สามารถกดรับสิทธิ์เพื่อขอพักชำระหนี้ผ่านแอป MyMo จนเสร็จสิ้นกระบวนการ กรณีที่ลูกค้ายังไม่มีแอป สามารถดาวน์โหลดและลงทะเบียนใช้งานด้วยตนเอง หรือติดต่อที่ธนาคารออมสินทุกสาขา ระยะเวลาดำเนินการโครงการ/กิจกรรม : กรกฎาคม - ธันวาคม 2564 ช่องทางติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม : เบอร์โทรศัพท์ : call center 1115 Website หน่วยงาน : https://www.gsb.or.th/personal Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/GSBSociety
27 ก.ค. 2564
ธปท. ออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยเหลือลูกหนี้ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : ธปท. ออกมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน ช่วยเหลือลูกหนี้ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ ตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกหนี้และเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ จึงเห็นร่วมกันที่จะออกมาตรการเร่งด่วนด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เป็นระยะเวลา 2 เดือนให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ลูกหนี้ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เมื่อหมดระยะเวลาพักชำระหนี้แล้ว สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักกับลูกหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม คือ ลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้ แต่รายได้ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ สถาบันการเงินจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้ การให้ความช่วยเหลือตามแนวทางข้างต้น ลูกหนี้สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อแสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้ หากลูกหนี้สามารถให้ข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจนถึงผลกระทบของกิจการหรือการจ้างงาน จะทำให้การพิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยเจ้าหนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ระยะเวลาดำเนินการโครงการ/กิจกรรม : 2 เดือน ระยะเวลาดำเนินการโครงการ/กิจกรรม : https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Activities/Pages/JointPress_15072021.aspx ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : 02 283 5353 Line หน่วยงาน : @bankofthailand Website หน่วยงาน : www.bot.or.th Facebook Fanpage : https://m.facebook.com/bankofthailandofficial/
27 ก.ค. 2564
เยียวยาโควิด: ครม.อนุมัติ 4.2 หมื่นล้านบาทเพื่อ 10 จังหวัดล็อกดาวน์
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : เยียวยาโควิด: ครม.อนุมัติ 4.2 หมื่นล้านบาทเพื่อ 10 จังหวัดล็อกดาวน์ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ อาทิ ลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม และลดภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาวงเงินรวม 4.2 หมื่นล้านบาท ตามที่หน่วยงานด้านเศรษฐกิจเสนอ มาตรการเยียวยาภายใต้วงเงิน 4.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สำหรับลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม (กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา) ด้วยวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท 2. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน สำหรับประชาชนทั่วประเทศ ในวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท 3. มาตรการความช่วยเหลือบรรเทาค่าใช้จ่ายของประชาชนด้านอื่น ๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา และมาตราช่วยเหลือลูกหนี้ แต่ไม่ระบุวงเงิน กลุ่มแรกที่จะได้รับการเยียวยาตามมาตรการดังกล่าวประกอบด้วยกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการทั้งในและนอกระบบประกันสังคม ซึ่งมีระยะเวลาในการช่วยเหลือ 1 เดือน นอกจากนี้ยังเพิ่มสาขาของกลุ่มที่จะได้รับการเยียวยาเพิ่มอีก 5 กลุ่มจากประกาศมาตรการเยียวยาครั้งที่แล้วตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ซึ่งครอบคลุมเพียงกลุ่มก่อสร้าง กลุ่มที่พักแรมและบริการด้านอาหาร กลุ่มศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ และกลุ่มกิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ สำหรับกลุ่มที่เพิ่มเติมประกอบด้วย กลุ่มขายส่งและการขายปลีก ซ่อมยานยนต์ กลุ่มขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า กลุ่มกิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน กลุ่มกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ และกลุ่มข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ผลจากมติครม. ดังกล่าวมีรายละเอียดในส่วนมาตรการการเยียวยาในแต่ละกลุ่มดังนี้ 1. ลูกจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 กลุ่มดังกล่าว จะได้รับเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) และจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท 2. นายจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 กลุ่มดังกล่าว รัฐจะจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อราย สูงสุดไม่เกิน 200 คน 3. สำหรับผู้ประกันตนตาม ม. 39 และ 40 จะได้รับการช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน 4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายใน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท 5. ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือนก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2 6. ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือนก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3) 7. ผู้ประกอบการภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะที่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือนก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2 8. ผู้ประกอบการภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะที่ไม่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือนก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3) แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.bbc.com/thai/thailand-57821367 ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : 1506 Website หน่วยงาน : https://www.mol.go.th/ Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/ThailandMOL/
19 ก.ค. 2564
สำนักนายกรัฐมนตรี
SME คนละครึ่ง "สินเชื่อ SMEs One" รอบ 3 วงเงิน 3,000 ล้านบาท เยียวยาโควิด: ครม.อนุมัติ 4.2 หมื่นล้านบาทเพื่อ 10 จังหวัดล็อกดาวน์ ครม. ขยายมาตรการเยียวยาแรงงาน-ผู้ประกอบการ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ปรับกรอบวงเงิน 6 หมื่นล้าน บอร์ด สสว. ไฟเขียวจัดเงินกองทุน 1,224 ล้านช่วยเอสเอ็มอี
19 ก.ค. 2564
มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 3
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 3 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) พร้อมเปิดระบบให้ลูกค้าสแกน คิวอาร์โค้ด ลงทะเบียน เข้าร่วมมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 3 เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยประเภทสินเชื่อบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด - 19 ระลอกใหม่ ครอบคลุมลูกค้าที่ได้รับผลกระทบระยะสั้นและระยะยาว โดยมาตรการนี้มีแนวทางให้ความช่วยเหลือ ดังนี้ สินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกันภายใต้กำกับ (ยกเว้นสินเชื่อสวัสดิการพนักงานบุคคลภายนอก (MOU)/สินเชื่อบำเหน็จบำนาญข้าราชการ/สินเชื่อ เสริมสร้างธุรกิจรายย่อยมุสลิม (MSMEs)) ลูกค้าสามารถขอลดค่างวดไม่เกิน 30% ของค่างวดเดิมระยะเวลา 6 เดือน โดยไม่ขยายระยะเวลาและให้นำไปชำระในงวดสุดท้าย สินเชื่อที่อยู่อาศัย / อเนกประสงค์ มีหลักประกัน ลูกค้าสามารถเลือกลดค่างวดไม่เกิน 30% ของค่างวดเดิม ระยะเวลา 6 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น (ชำระเฉพาะกำไร) 6 เดือน หรือ พักชำระเงินต้น (ชำระเฉพาะกำไร) 3 เดือน และให้ปรับลดอัตรากำไรในระยะเวลาที่พักชำระหนี้ลง 25% เฉพาะบัญชีสินเชื่อที่อยู่ในช่วงการชำระค่างวดด้วยอัตรากำไรอ้างอิง SPRL (SPRL ของธนาคาร ปัจจุบัน = 7.40 ต่อปี) โดยทั้ง 3 ทางเลือกจะไม่ขยายระยะเวลาและให้นำไปชำระในงวดสุดท้ายสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบระยะยาว เช่น ถูกพักงาน หรือ ถูกให้ออกจากงาน ลูกค้าสามารถขอพักชำระเงินต้นและกำไร 3 เดือน โดยไม่ขยายระยะเวลา และให้นำไปชำระในงวดสุดท้าย สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ พักชำระค่างวด 3 เดือนและขยายระยะเวลา 3 เดือน สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบระยะยาว ลูกค้าสามารถเลือกขอพักชำระค่างวด 3 เดือน หรือ ในกรณีที่ไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ ลูกค้าสามารถขอคืนรถ เพื่อขายทอดตลาด หากราคาขายประมูลจริงได้ต่ำกว่าภาระหนี้ธนาคารจะพิจารณาลดภาระหนี้ตามความเหมาะสม สำหรับลูกค้าที่สนใจร่วมมาตรการสามารถลงทะเบียนโดยการสแกน คิวอาร์โค้ด ระยะเวลาดำเนินการโครงการ/กิจกรรม : แจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 ธันวาคม 2564 แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.ryt9.com/s/prg/3229484 ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : 1302 Website หน่วยงาน : https://www.ibank.co.th/th/news/detail/2021-03-26-16-41-00?f= Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/ibank.th
20 มิ.ย. 2564
“กล้าให้ Fighter” อัดสินเชื่อธุรกิจฝ่าวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : “กล้าให้ Fighter” อัดสินเชื่อธุรกิจฝ่าวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) เดินหน้าอัดสินเชื่อหนุนผู้ประกอบการไมโครเอสเอ็มอี ฝ่าวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ ปล่อยแคมเปญ “กล้าให้ Fighter” พร้อมฟันฝ่าทุกอุปสรรค เคียงข้างธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี ด้วยความเชื่อมั่นและมองเห็นในศักยภาพ ความเข้มแข็ง รวมถึงหัวใจนักสู้ที่ไม่ยอมแพ้ โดยเน้นความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ที่พัฒนาบนพื้นฐานความเข้าใจในผู้ประกอบการไมโครเอสเอ็มอี ผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อ “SME กล้าให้” ของธนาคาร และพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการผ่านสินเชื่อฟื้นฟู ตามมาตรการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการไมโครเอสเอ็มอี ตามแนวคิด "Everyone Matters ใครไม่เห็น เราเห็น" สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มสภาพคล่อง และใช้ในการฟื้นฟูธุรกิจ ธนาคารแนะนำสินเชื่อ SME กล้าให้ ที่ในปีนี้ได้เพิ่มวงเงินสูงสุดเป็น 30 ล้านบาท สำหรับลูกค้าที่มีหลักประกัน หรือสำหรับลูกค้าที่ไม่มีหลักประกัน ธนาคารเพิ่มวงเงินสูงสุดเป็น 10 ล้านบาท และรับเงินไวภายใน 5 วันทำการธนาคาร หลังจากเอกสารครบ นอกจากนี้ยังมี สินเชื่อ SME กล้าให้รีไฟแนนซ์ ที่จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน โดยรับดอกเบี้ย 0% นาน 3 เดือน จากนั้นเดือนที่ 4 ถึงเดือนที่ 12 รับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงตามสัญญารีไฟแนนซ์ ลบด้วย 1% ต่อปี เดือนที่ 13 เป็นต้นไป รับอัตราดอกเบี้ย 6.75% - 12% ต่อปี นอกจากนี้ ธนาคารยังพร้อมสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อฟื้นฟู หรือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยลูกค้าปัจจุบันสามารถขอสินเชื่อได้สูงสุด 30% ของวงเงินสินเชื่อเดิม สำหรับลูกค้าใหม่ที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินทุกแห่ง สามารถขอสินเชื่อได้สูงสุด 20 ล้านบาท (นับรวมวงเงินจากทุกสถาบันการเงิน) ซึ่งลูกค้าทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2 ปีแรกเพียง 2% ต่อปี และได้รับการยกเว้นดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก ตามมาตรการของรัฐ ประเภทความช่วยเหลือ : เงินทุน/สินเชื่อ ระยะเวลาการดำเนินโครงการ/กิจกรรม : - แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.tcrbank.com/th/ ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ : 02 697 5454 Website หน่วยงาน : https://www.tcrbank.com/th/ Facebook Fanpage : -
20 มิ.ย. 2564