กลุ่มเชื่อมโยงธุรกิจดิจิทัลอุตสาหกรรม กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ลงพื้นที่สำรวจบริษัทที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมวางแผนและจัดการข้อมูลการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
วันที่ 13 มีนาคม 2567 เจ้าหน้าที่กลุ่มงานเชื่องโยงธุรกิจดิจิทัลอุตสาหกรรมเข้าสำรวจและประเมินความพร้อมบริษัทที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมวางแผนและจัดการข้อมูลการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลณ จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีบริษัทดังนี้ 1.บริษัท ศาสติ้งแอนด์แมชชีนเนอรี่ จำกัด และ 2.บริษัท ซองเดอร์ ไทยออร์แกนิคฟู้ด จำกัด
19 มี.ค. 2567
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม จัดพิธีปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineet)
วันที่ 16 มีนาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนาพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายนพดล อุ่มน้อย ผู้อำนวยการกลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล จัดพิธีปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ "หลักสูตร อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer) ในสถานประกอบการเพื่อการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัล"
16 มี.ค. 2567
กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรมเข้ากำกับติดตามสถานประกอบการฯ
นายอาทิตย์ พัฒนาพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่ทเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล เข้ากำกับติดตามสถานประกอบการ ณ บริาัษัท ท็อป สแน็คส์ ไทยแลนด์ จำกัด และบริษัท พี เอ็ม ดับบลิว อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมแกร่งภาคการผลิตให้ดีพร้อมไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Factory on Cloud)
13 มี.ค. 2567
ดร.อาทิตย์ พัฒนาพงษ์ชัย ได้รับเชิญเป็นวิทยากร บรรยายหัวข้อ "การพัฒนา SME และวิสาหกิจชุมชนใน Biomass Supply Chain"
เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ได้รับเชิญจาก บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด จ.สระบุรี ให้เกียรติเป็นวิทยากร บรรยายหัวข้อ "การพัฒนา SME และวิสาหกิจชุมชน ใน Biomass Supply Chain" ณ ศูนย์พัฒนาและฝึกอบรม บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (แก่งคอย) จ.สระบุรี การสัมมนาดังกล่าว เป็นการให้ความรู้เรื่องการพัฒนา SME และวิสาหกิจชุมชน การดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG (Environment Social and Governance) แนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืนโดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว และมีเป้าหมายที่ชัดเจนในเรื่อง Decarbonization การลดฝุ่นพิษ PM 2.5 รวมทั้ง การสร้างอาชีพ เสริมความเข้มแข็ง/ เพิ่มรายได้ ให้กับชุมชนรอบโรงงานในรัศมี 120 กิโลเมตร ที่จะต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ได้นำเสนอโมเดลการพัฒนาชุมชนรอบโรงงาน และร่วมจัดทำ Workshop ภายใต้โครงการ Biomass ชุมชน ซึ่ง Diprom จะส่งเสริมให้ เกษตรกรและชุมชนนำวัสดุเหลือใช้จากทางการเกษตรจากชุนชน เช่น เศษไม้ กิ่งยางพารา ใบอ้อย ต้นปาล์ม ฯลฯ มาแปรรูปเป็นพลังงานชีวมวล (Biomass) สำหรับทดแทนพลังงานจากถ่านหิน ส่งให้โรงไฟฟ้าชีวมวล SCG จากการ Workshop และอภิปรายเพื่อพิจารณาคัดเลือก Product champion โดยอาศัยผลการทำ Businesses model ของวัตถุดิบ 5 ตัวอย่าง เพื่อนำร่องโครงการฯ ร่วมกันระหว่าง DIPROM และ SCG พบว่า ใบอ้อย ซึ่งใบอ้อยมีค่าความร้อนอยู่ที่ 3,000-3,500 Kcal/kg. สามารถดำเนินการได้โดยอาศัยเทคนิค cost effectiveness และเป็นการช่วยลดฝุ่นพิษ PM2.5 ลดการเผาจากชาวไร่ รวมทั้งมุ่งหวังให้ชุมชนมีรายได้ยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนและเป็นการแก้ไขฝุ่นพิษ PM 2.5 ได้อย่างยั่งยืน
13 มี.ค. 2567
กลุ่มเชื่อมโยงธุรกิจดิจิทัลอุตสาหกรรม กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ลงพื้นที่สำรวจบริษัทที่สมัครเข้าร่วม 2 กิจกรรม
วันที่ 11 มีนาคม 2567 เจ้าหน้าที่กลุ่มงานเชื่องโยงธุรกิจดิจิทัลอุตสาหกรรมเข้าสำรวจและประเมินความพร้อมบริษัทที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมวางแผนและจัดการข้อมูลการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และกิจกรรมการเพิ่มความสามรถ SMEs ให้ดีพร้อมด้วย ERP ณ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนนทบุรี มีบริษัทดังนี้ 1.บริษัท ริชบีน 888 จำกัด และ2.บริษัท นิกิวาอิ กรุ๊ป จำกัด
12 มี.ค. 2567
กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ได้เข้าติดตามและวินิจฉัยสถานประกอบการกิจกรรมยกระดับสถานประกอบการด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ฯ จำนวน 2 กิจการ
นายอาทิตย์ พัฒนาพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายนพดล อุ่มน้อย ผู้อำนวยการกลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล เข้าติดตามและวินิจฉัยสถานประกอบการกิจกรรมยกระดับสถานประกอบการด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและดิจิทัลให้ดีพร้อม ได้แก่ บริษัท ซีที ฟรอนเทียร์ จำกัด และ บริษัท บี เอ็น ซุพพีเรีย มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
08 มี.ค. 2567
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ในสถานประกอบการเพื่อการบูรณาการระบบอุตสาหกรรม"
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงษ์ชัย (ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม) มอบหมายให้ นายนพดล อุ่มน้อย (ผู้อำนวยการกลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล) เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ในสถานประกอบการการเพื่อการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัล"
04 มี.ค. 2567
การประชุมข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ กท.กสอ. ครั้งที่ 2/2567
วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ครั้งที่ 2/2567 ณ ห้องประชุมกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เวลา 9.30-14.30 น.
01 มี.ค. 2567
กลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ได้เข้าติดตามและวินิจฉัยสถานประกอบการ หจก. อ๊อดกรีนฟิช
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนา ผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรมติดตามและเข้าวินิจฉัยสถานประกอบการ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ในกิจกรรมระบบนิเวศน์ดิจิทัลธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร (Digital Ecosystem and Traceability Digital System) ลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแนะนำ ณ สถานประกอบการ มีรายละเอียดดังนี้
01 มี.ค. 2567
กลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ได้เข้าติดตามและวินิจฉัยสถานประกอบการ ร้านอิ่มเพลิน ราชบุรี
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรมติดตามและเข้าวินิจฉัยสถานประกอบการ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ร้านอิ่มเพลิน ราชบุรี ในกิจกรรมการยกระดับขีดความสามารถการจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) จากการพบปะ หารือ มีรายละเอียดดังนี้
29 ก.พ. 2567