เยียวยาโควิด: ครม.อนุมัติ 4.2 หมื่นล้านบาทเพื่อ 10 จังหวัดล็อกดาวน์


19 ก.ค. 2021    apichana    6
   

ชื่อโครงการ/กิจกรรม :

เยียวยาโควิด: ครม.อนุมัติ 4.2 หมื่นล้านบาทเพื่อ 10 จังหวัดล็อกดาวน์
         คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ อาทิ ลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม และลดภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาวงเงินรวม 4.2 หมื่นล้านบาท ตามที่หน่วยงานด้านเศรษฐกิจเสนอ
 

       มาตรการเยียวยาภายใต้วงเงิน 4.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1. มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ สำหรับลูกจ้างและกิจการใน 10 จังหวัดสีแดงเข้ม (กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา) ด้วยวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท

2. มาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน สำหรับประชาชนทั่วประเทศ ในวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท

3. มาตรการความช่วยเหลือบรรเทาค่าใช้จ่ายของประชาชนด้านอื่น ๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา และมาตราช่วยเหลือลูกหนี้ แต่ไม่ระบุวงเงิน

  กลุ่มแรกที่จะได้รับการเยียวยาตามมาตรการดังกล่าวประกอบด้วยกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการทั้งในและนอกระบบประกันสังคม ซึ่งมีระยะเวลาในการช่วยเหลือ 1 เดือน
  นอกจากนี้ยังเพิ่มสาขาของกลุ่มที่จะได้รับการเยียวยาเพิ่มอีก 5 กลุ่มจากประกาศมาตรการเยียวยาครั้งที่แล้วตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ซึ่งครอบคลุมเพียงกลุ่มก่อสร้าง กลุ่มที่พักแรมและบริการด้านอาหาร กลุ่มศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ และกลุ่มกิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ
  สำหรับกลุ่มที่เพิ่มเติมประกอบด้วย กลุ่มขายส่งและการขายปลีก ซ่อมยานยนต์ กลุ่มขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า กลุ่มกิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน กลุ่มกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ และกลุ่มข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
 

ผลจากมติครม. ดังกล่าวมีรายละเอียดในส่วนมาตรการการเยียวยาในแต่ละกลุ่มดังนี้

  1. ลูกจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 กลุ่มดังกล่าว จะได้รับเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) และจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท
  2. นายจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 กลุ่มดังกล่าว รัฐจะจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อราย สูงสุดไม่เกิน 200 คน
 

3. สำหรับผู้ประกันตนตาม ม. 39 และ 40 จะได้รับการช่วยเหลือค่าใช้จ่าย 5,000 บาทต่อคน

  4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายใน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท
  5. ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือนก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2
  6. ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือนก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
  7. ผู้ประกอบการภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะที่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือนก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2
  8. ผู้ประกอบการภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะที่ไม่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือนก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)
   
แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม :  
https://www.bbc.com/thai/thailand-57821367
   
ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม  

เบอร์โทรศัพท์ :

1506

Website หน่วยงาน :

https://www.mol.go.th/
 

Facebook Fanpage :

https://www.facebook.com/ThailandMOL/