สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash (ระยะที่ 2)
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash (ระยะที่ 2) วัตถุประสงค์การกู้ : เพื่อเสริมสภาพคล่อง และ/หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ คุณสมบัติผู้กู้ : วิสาหกิจขนาดย่อม - ภาคการผลิต การจ้างงานไม่เกิน 50 คน รายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท - ภาคการค้าและบริการ การจ้างงานไม่เกิน 30 คน รายได้ไม่เกิน 50 ล้านบาท ประเภทความช่วยเหลือ : เงินทุน/สินเชื่อ แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.smebank.co.th/loans/Extra_Cash ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : สายด่วน 1357 Website หน่วยงาน : www.smebank.co.th Facebook Fanpage : www.facebook.com/SMEDevelopmentBank
07 พ.ค. 2021
โครงการสินเชื่อ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (ระยะที่ 4)
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : โครงการสินเชื่อ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (ระยะที่ 4) วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ หรือเพื่อสำรองค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ คุณสมบัติผู้กู้ กลุ่มลูกค้าทั่วไป 1. เป็นผู้ประกอบการ SMEs เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลไทยที่มีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย ถืออยู่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด 2. กรณีมีวงเงินกับ ธพว. หรือสถาบันการเงินอื่น ต้องไม่มีประวัติการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในช่วง 12 เดือน และมีประวัติการชำระหนี้ปกติอย่างน้อย 6 งวด ก่อนวันยื่นกู้ ทั้งนี้ผ่อนปรนเงื่อนไขเฉพาะด้าน ประวัติการชำระหนี้ปกติ สำหรับกรณี 2.1) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะป้องกัน (Pre-emptive) ที่เป็นการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 หรือตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และ/หรือ 2.2) การชะลอการชำระหนี้ ตาม พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 3. กรณีบุคคลธรรมดาต้องจดทะเบียนการค้ากับกระทรวงพาณิชย์ หรือใบอนุญาตของหน่วยงานราชการทีเกี่ยวข้อง ให้ยกเว้นธุรกิจบางประเภทที่หน่วยงานราชการมิได้กำหนดให้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เช่น ธุรกิจบริการ 4. ไม่เป็น NPL ณ วันที่ยื่นขอกู้ กลุ่มลูกหนี้เดิมที่มีภาระหนี้กับ ธพว. 1. เป็นลูกหนี้จัดชั้นปกติ และจัดชั้นเป็น กสว ถึงเป็นพิเศษ (non-NPL) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 - ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยของธนาคาร - ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือการชะลอการชำระหนี้ - ตาม พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 2. ไม่เป็น NPL ณ วันที่ยื่นขอกู้ 3. เมื่อได้รับการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระหนี้ หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สามารถเข้าร่วมโครงการได้ทันที ประเภทความช่วยเหลือ : เงินทุน/สินเชื่อ ระยะเวลาดำเนินการโครงการ/กิจกรรม : สิ้นสุดรับคำขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2564 หรือ จนกว่าจะเต็มวงเงิน แล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดจะถึงก่อน แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.smebank.co.th/loans/LocalEconomyUpgrade ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : สายด่วน 1357 Website หน่วยงาน : www.smebank.co.th Facebook Fanpage : www.facebook.com/SMEDevelopmentBank
06 พ.ค. 2021
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank)
1. โครงการสินเชื่อ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (ระยะที่ 4) 2. สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash (ระยะที่ 2) 3. สินเชื่อเสริมสภาพคล่อง SME D Happy (ระยะที่ 2) 4. มาตรการ แฟคตอริ่ง เสริมสภาพคล่อง SMEs (ระยะที่ 3) 5. สินเชื่อ SMART SMEs 6. สินเชื่อ Smart Factoring บัญชีเดียว (ระยะที่ 3) 7. สินเชื่อ จ่ายดี มีเติม 8. สินเชื่อ ฟื้นฟู
06 พ.ค. 2021
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : โครงการ #เราจะก้าวผ่านไปด้วยกัน "กรุงศรี คอนซูมเมอร์" กับมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผลกระทบจาก COVID-19 ระยะที่ 2 รายละเอียด วิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเกิดขึ้นในไทยตั้งแต่ต้นปี 2563 ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อทุกภาคส่วน รวมทั้งผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลุ่มลูกค้าที่กรุงศรีให้ความสาคัญเป็นอย่างมาก โดยนับตั้งแต่เกิดสถานการณ์ การแพร่ระบาดในช่วงเริ่มต้น ธนาคารได้ทาการติดต่อลูกค้า SME เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง ทาให้ธนาคารรับรู้ถึงผลกระทบที่แท้จริงและสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด ผ่านมาตรการช่วยเหลือของธนาคารเองและมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐมาตั้งแต่ต้นปี 2563 โดยล่าสุดกรุงศรีได้ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่า เพื่อเสริมสภาพคล่องสาหรับลูกค้าผู้ประกอบการ SME ซึ่งประกอบด้วยลูกค้าธุรกิจขนาดกลาง ลูกค้าธุรกิจขนาดเล็ก และลูกค้าธุรกิจขนาดย่อมไปแล้ว กว่า 7,000 ราย จานวน 21,500 ล้านบาท และได้พักชาระหนี้ให้กับลูกค้า กว่า 28,000 ราย โดยเป็นยอดสินเชื่อคงค้างประมาณ 110,000 ล้านบาท ผ่านพระราชกาหนดพักชาระหนี้ และเป็นยอดสินเชื่อคงค้างประมาณ 42,000 ล้านบาท ผ่านมาตรการพักชาระหนี้ของธนาคาร อย่างไรก็ดีด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด (มหาชน) จึงเร่งให้ความช่วยเหลือ ลูกค้าผู้ประกอบการธุรกิจ SME ทั้งลูกค้าธุรกิจขนาดกลาง ลูกค้าธุรกิจขนาดเล็ก และลูกค้าธุรกิจขนาดย่อมเพิ่มเติม เพื่อบรรเทาผลกระทบและแบ่งเบาภาระของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องนโยบายของภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ให้สามารถดาเนินธุรกิจต่อไปได้ ภายใต้ผลกระทบในปัจจุบัน ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระลอกใหม่ ผ่านมาตรการเชิงรุกในการจัดทีมผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ติดต่อกับลูกค้าอย่างสม่าเสมอ เพื่อติดตามสถานการณ์พร้อมให้ความช่วยเหลือด้วยหลากหลายมาตรการ อาทิ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สินเชื่อดอกเบี้ยต่าของธนาคารแห่งประเทศไทย และสินเชื่อดอกเบี้ยต่าเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทยของธนาคารออมสินเพื่อช่วยลูกค้าให้สามารถข้ามผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ พร้อมตอกย้าเป้าหมายการเป็นธนาคารหลักสาหรับลูกค้าธุรกิจ SME ที่พร้อมช่วยเหลือลูกค้าในทุกสถานการณ์ โดยสรุปมาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการ SME ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 สาหรับลูกค้าธุรกิจขนาดย่อม จะมีทั้งในรูปแบบพักชาระเงินต้น พักชาระค่างวดทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ปรับลดจานวนเงินผ่อนชาระค่างวด สาหรับลูกค้าธุรกิจขนาดกลาง และลูกค้าธุรกิจขนาดเล็ก จะมีการพิจารณาเป็นรายกรณีไป ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยจะพิจารณาตามผลกระทบที่ได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อมตลอดจนความสามารถในการชาระหนี้ของลูกค้า และสินเชื่อดอกเบี้ยต่า (Soft loan) เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้า ประเภทความช่วยเหลือ : มาตรการเยียวยา ระยะเวลาดาเนินการโครงการ/กิจกรรม : ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.krungsri.com/th/support/coronavirus-covid-19-contact-sme ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : 02 2966262, 02 6262626 หรือ โทร 1572 E-mail : Krungsri.PR@krungsri.com Website หน่วยงาน : https://www.krungsri.com/ Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/KrungsriSimple/
06 พ.ค. 2021
ธนาคารกรุงไทย
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : มาตราการกรุงไทยช่วยลูกค้าฝ่าโควิด ลูกค้าบุคคล มาตรการช่วยเหลือระยะที่ 2 ( 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 64 ) - สินเชื่อบุคคล ประเภทวงเงินหมุนเวียน เปลี่ยนเป็นวงเงินกู้แบบกำหนดระยะเวลา (Term Loan) 48 งวด หรือ ขยายระยะเวลาได้ตามความสามารถ ในการชำระหนี้ - สินเชื่อบุคคล แบบกำหนดระยะเวลา ลดการผ่อนชำระลง 30% จากการผ่อนชำระตามสัญญากู้เดิม นานสูงสุด 6 เดือน - สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ ที่มี ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (สินเชื่อบ้าน, สินเชื่อ Home for Cash, สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน) พักชำระเงินต้น (ชำระเฉพาะดอกเบี้ย) นาน 3 เดือน หรือ ลดค่างวด โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ ลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ ได้ที่ https://krungthai.com/covid19-2/main ลูกค้าธุรกิจ (ระยะเวลาโครงการเริ่มตั้งแต่ 1 ก.ย. 63 – 31 ธ.ค. 64) โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง ลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อรวมทุกสถาบันการเงิน 50-500 ล้านบาท โดยพิจารณาเงื่อนไขตามความสามารถของลูกค้า - ลดการผ่อนชำระ ตามความสามารถของลูกค้า - ยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ ตามความเหมาะสม - เสริมสภาพคล่อง ตามศักยภาพของลูกค้า ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ได้ที่ https://www.bot.or.th/App/drBiz ลูกค้าที่มีสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ วงเงินรวมกลุ่มไม่เกิน 500 ล้านบาท (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562) โดยพิจารณาเงื่อนไขตามความสามารถของลูกค้า - พักชำระหนี้เงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ย สินเชื่อประเภท Term Loan สูงสุด 6 เดือน (สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 20 ลบ.) - พักชำระหนี้เงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ย สินเชื่อประเภท Term Loan สูงสุด 12 เดือน (สำหรับวงเงินกู้ 20 – 500 ลบ.) - ขยายระยะเวลาชำระหนี้ สินเชื่อประเภท P/N และ Trade Finance สูงสุด 6 เดือน - ขอวงเงินสินเชื่อ Soft Loan เพิ่มได้ อัตราดอกเบี้ย 2% ระยะเวลา 2ปี วงเงินสูงสุด 20% ของยอดคงค้างสินเชื่อ ณ 31 ธ.ค. 62 สินเชื่อธุรกิจขนาดเล็ก (sSME) สามารถติดต่อขอรายละเอียดมาตรการอื่นๆเพิ่มเติม ได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://krungthai.com/th/personal/loan/personal-loan/441 ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : 0-2111-1111 E-mail : Call.Callcenter@Krungthai.com Website หน่วยงาน : https://krungthai.com/ Facebook Fanpage : Krungthai Care
06 พ.ค. 2021
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : โครงการโดย บสย. ที่รัฐให้การสนับสนุน ในโครงการค้ำประกันสินเชื่อ พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจที่ประสบปัญหาหรือได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเป็นผู้ขอสินเชื่อที่ได้รับสินเชื่อตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 ประเภทความช่วยเหลือ : เงินทุน/สินเชื่อ ระยะเวลาดำเนินการโครงการ/กิจกรรม : บัดนี้ ถึง วันที่ 9 ตุลาคม 2566 แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.tcg.or.th/customer_general_detail.php?customer_general_id=18 ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : 0 2890 9999 E-mail : debt.doctor@tcg.or.th Website หน่วยงาน : https://www.tcg.or.th/index.php Facebook Fanpage : www.facebook.com/tcg
06 พ.ค. 2021
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : กิจกรรมการช่วยเหลือและพัฒนา SMEs สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดเป็นวงกว้างจึงได้มอบสิทธิ์การตรวจคัดกรอง COVID-19 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกนอกเหนือจากสิทธิ์พื้นฐานจากทางภาครัฐในกรณีที่มีความเสี่ยง เพียงโชว์บัตร FTI e-Member Card เพื่อขอรับสิทธิ์ตรวจคัดกรอง COVID -19 (Nasal Swap – RT- PCR Test) พิเศษเพียง 1,500 บาท (จากปกติ 3,000 บาท) เวลาให้บริการ 08.00-16.00 น. ทราบผลตรวจภายใน 24-48 ชั่วโมง ได้ที่โรงพยาบามเกษมราษฎร์ทุกสาขา ติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาล คุณโย 094-393-8899 หรือสอบถามรายละเอียดการสมัครสมาชิก FTI e-Member Card ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ สภาอุตสาหกรรมฯ 02-345-1000 ประเภทความช่วยเหลือ : มาตรการเยียวยา แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.facebook.com/TheFederationOfThaiIndustries/ ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : 02 345 000 E-mail : information@fti.or.th Website หน่วยงาน : https://www.fti.or.th Twitter : https://bit.ly/2HC0rg0 Facebook Fanpage : https://bit.ly/2vENKhY Youtube : https://bit.ly/2V2kCMq
06 พ.ค. 2021
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม – OIE
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : บทความเรื่อง การกำหนด Roadmap การใช้ Smart Technology เพื่อเตรียมความพร้อมในการรีสตาร์ทอุตสาหกรรมไทยภายหลังโควิด -19 สวัสดีค่ะ มาพบกันอีกแล้วนะคะ สำหรับวันนี้เรามีบทความเรื่อง การกำหนด Roadmap การใช้ Smart Technology เพื่อเตรียมความพร้อมในการรีสตาร์ทอุตสาหกรรมไทยภายหลังโควิด -19 มาฝากกันนะคะ เชิญติดตามอ่านด้านล่างได้เลยค่ะ https://online.fliphtml5.com/xafod/tdya/?fbclid=IwAR3jRm5p6d9DWfgcF52D8S_R53C0kVGiCha5JxjWgcVsI-HGR8YOFlbd-uc#p=1 ประเภทความช่วยเหลือ : ให้ความรู้/ปรึกษาแนะนำ แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.facebook.com/diwindustrial/posts/287665857257295 ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : 02 202 4284 E-mail : oieprnews@gmail.com Website หน่วยงาน : http://www.oie.go.th/ Facebook Fanpage : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม - OIE
06 พ.ค. 2021
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ชื่อโครงการ/กิจกรรม : Shop4U สู้ COVID-19 ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะสินค้าขาดแคลน โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมทั้งเวชภัณฑ์ที่มีความจำเป็น ด้วยเหตุนี้เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงสินค้าประเภทต่าง ๆ ในข้างต้นได้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงทำการรวบรวมข้อมูลรายการสินค้า รวมทั้งสถานที่จัดจำหน่าย เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างทั่วถึง อันเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคสามารถหาซื้อสินค้าต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น https://docs.google.com/spreadsheets/d/1FPFGBIiqG2pNt4yBkb0Y2WXnr83DObOAmmedQHGzZ1U https://drive.google.com/open?id=1JkPFGxDH3tw1Lb8XsQ1o0RUBs3tfh4B9&usp=sharing แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : https://www.dip.go.th/th/category/news/2020-03-26-18-40-37 ช่องทางการติดต่อสอบถามโครงการ/กิจกรรม เบอร์โทรศัพท์ : - E-mail : - Website หน่วยงาน : https://www.dip.go.th/ Facebook Fanpage : - ชื่อโครงการ/กิจกรรม : โครงการ "SMEs GROW UP" ปั้น SMEs สู่ B2C ฝ่าวิกฤตโควิด-19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รัฐบาลในหลายประเทศต้องออกมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศ ประเทศไทยเองก็เช่นกัน ซึ่งการออกมาตรการต่างๆนั้นไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสังคม ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกทำให้เข้าสู่ “ภาวะถดถอย” การค้าและการลงทุนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศเกิดการชะลอตัว หน่วยงานและองค์กรต่างๆ จึงต้องมีการปรับตัวและปรับรูปแบบการทำงานอย่างรวดเร็วด้วยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ประกอบกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไป จากการใช้บริการจากตลาดเดิมๆ นั่นคือตลาดออฟไลน์ เปลี่ยนแปลงเป็นตลาดออนไลน์มากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ OTOP ที่ยังขาดความรู้ ทักษะ และความเข้าใจในการสร้างกลยุทธ์เทคนิคการทำการตลาดออนไลน์ ไม่สามารถเข้าสู่การแข่งขันการตลาดออนไลน์อย่างมืออาชีพได้ผนวกกับสถานการณ์ที่เริ่มมีการแข่งขันบนตลาดออนไลน์รุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลให้เสียโอกาสในการยกระดับได้อย่างยั่งยืน กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ริเริ่ม นำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการ SMEs โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านการตลาดออนไลน์ ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลบริหารจัดการธุรกิจทั้งงานการผลิตและบริการ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจในสถานการณ์ปัจจุบัน และสามารถขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มมากขึ้น มีความพร้อมและเข้าสู่สนามแข่งขันในตลาดออนไลน์ได้อย่างแข็งแกร่ง ประเภทความช่วยเหลือ : ให้ความรู้/ปรึกษาแนะนำ แหล่งที่มาโครงการ/กิจกรรม : Website หน่วยงาน : https://ddi.dip.go.th/ Facebook Fanpage : Digital DIP
06 พ.ค. 2021
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม
06 พ.ค. 2021