Success Case : พีอามคัท ร้านทำผม P.ARMM CUT - Barber & Salon in Samutsakhon


26 ก.ค. 2023    apichana    7

     ในวันที่ธุรกิจร้านทำผมมีผู้เล่นหลายราย จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะตั้งราคาให้ต่ำกว่า จนเกิดเป็นสงครามราคาจนทำให้ตลาดเสีย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ผู้บริโภคทุกคนจะชอบของถูกเสมอไป แต่หลายคนยอมจ่ายในราคาที่แพงกว่า แลกกับความคุ้มค่ากับสินค้าและบริการที่ได้รับ วันนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ พีอามคัท (P.ARMM CUT) ร้านทำผมในมหาชัย ที่ชนะได้..แม้ขายแพงกว่า!

 

 

คุณโอฬาร สุดสาคร เจ้าของกิจการ และช่างทำผม ร้านพีอามคัท (P.ARMM CUT) เล่าว่า

     “จุดเริ่มต้นเส้นทางสายอาชีพนี้ เกิดจากความอิ่มตัวจากงานประจำ ทำให้ได้ค้นพบสิ่งที่หลงไหลโดยไม่รู้ตัว จากการลงมือทำตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม นั่นก็คือการช่วยคุณแม่ทำผม เราถือได้ว่าเป็นร้านทำผมในมหาชัยที่ตั้งราคาสูงเป็นอันดับต้นๆ แต่กลับมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ด้วยประสบการณ์ในแวดวงด้านการทำผมกว่า 15 ปี จนปัจจุบันร้าน พีอามคัท (P.ARMM CUT) เปิดให้บริการมาได้เกือบ 5 ปีแล้ว”

 

 

แนวคิด/เป้าหมายในการทำธุรกิจ “พีอามคัท (P.ARMM CUT)”

     พีอามคัท (P.ARMM CUT) เป็นร้านทำผมที่ใส่ใจเรื่องการบริการ และมีมาตรฐานเหมือนร้านใหญ่ๆ ในราคาที่เหมาะสม เป็นราคาที่คนทั่วไปสามารถจับต้องได้ จุดขายของทางร้านจุดขาย คือบริการร้านทำผมที่มีมาตรฐานและคุณภาพสูง โดยเน้นการทำผมได้ทุกแนว ทุกเพศ ทุกวัย ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ ใส่ใจสุขภาพลูกค้าโดยการหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารกันเสียที่มาจากฟอร์มาลีน นอกจากนี้ยังมีการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ผ่านโซเชียลมีเดียที่ชัดเจน ทำให้ภาพลักษณ์ของ พีอามคัท (P.ARMM CUT) มีจุดแข็งอย่างมาก

 

     “เป้าหมายของเรา คือ การขยายธุรกิจ และสร้างแบรนด์ พีอามคัท (P.ARMM CUT) ให้เติบโตอย่างมั่นคง เป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยการสร้าง Personal branding ในชื่อ P.ARMM CUT เพื่อให้ความรู้ พร้อมความบันเทิงผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ เพื่อสร้างการจดจำในใจของผู้คน” คุณโอฬารกล่าว

 

 

การทำ Branding กับการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน

     ก่อนหน้านี้ พีอามคัท (P.ARMM CUT) มีการสร้างแบรนด์ Personal branding ส่วนการตลาดในฝั่ง Corporate branding นั้นขาดการวางกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ (Branding Strategy) ที่ดี โดยไม่มีการกำหนดเป้าหมายของแบรนด์ และ ไม่มีทิศทางในการสื่อสารแบรนด์ที่ชัดเจน ขาดการสื่อสารจุดเด่นแบรนด์ และผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์ช่องทางต่างๆ ทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ไม่ได้ ไม่สามารถช่วงชิงพื้นที่ในใจลูกค้าได้เท่าที่ควร

     โดยคุณโอฬารได้เล็งเห็นว่า จุดนี้เป็นปัญหาใหญ่ของร้านมากๆ เมื่อมีได้รับโอกาสจาก “กิจกรรม DIPROM Branding ปั้นนักขายแบบมืออาชีพ ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” จึงตัดสินใจได้อย่างทันทีว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมฯ โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญเข้าไปให้ช่วยวิเคราะห์ธุรกิจและให้คำแนะนำแก่สถานประกอบการ ทำให้รู้จักและเห็นภาพธุรกิจตัวเองชัดเจนขึ้น จากการวิเคราะห์แบบตรงไปตรงมา และให้ความรู้ในการพัฒนา “Branding” อีกทั้งยังมีการช่วยชี้แนะในการวางกลยุทธ์การตลาดแต่ละช่องทาง วางกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ (Branding Strategy) ทำให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เข้าใจคู่แข่ง รู้คุณค่า จุดยืน และบุคลิกของแบรนด์ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีแนวทางการสร้างแบรนด์และการทำตลาดออนไลน์ชัดเจนขึ้น จากความรู้เรื่องสร้างตัวตนของแบรนด์ (Brand Identity) และการออกแบบ Graphic ต่างๆ ตามอัตลักษณ์แบรนด์ ส่งผลให้สามารถปรับปรุงวิธีการสื่อสารทางช่องทางออนไลน์ เพื่อสร้าง Branding ให้น่าสนใจมากขึ้น

 

 

คุณโอฬารได้เล่าถึงผลลัพธ์จากการเข้าร่วมโครงการว่า

     “แบรนด์มีความชัดทั้ง Personal branding และ Business branding ทำให้ผู้คนทั่วไปจดจำแบรนด์ได้ง่ายขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า ฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และฐานลูกค้าเก่าก็ยังคงเหนียวแน่น ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของธุรกิจให้ดีขึ้น คนจดจำแบรนด์ได้มากขึ้น และเกิดการบอกแบบปากต่อปากสูงขึ้นมาก”

 

ช่องทางการติดต่อ พีอามคัท (P.ARMM CUT)

 

     และนี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จของผู้ประกอบการที่เข้าร่วม “กิจกรรม DIPROM Branding ปั้นนักขายแบบมืออาชีพ ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” กับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ได้คัดสรรมาเพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ SME ได้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่าง แนวทางในการพัฒนาธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและก้าวทันโลกยุคปัจจุบัน