กสอ. เร่งเดินหน้า Digital for SMEs 130 กิจการมั่นใจช่วยเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ หวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0
กรุงเทพฯ 29 มีนาคม 2562 - กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เดินหน้าโครงการ Digital for SMEs นำระบบดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ หวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0ตั้งเป้าSMEs130 กิจการ ใน 3 สาขาหลัก ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้าและบริการสามารถสร้างยอดขายลดต้นทุนการผลิต มากกว่า 91 กิจการ และเกิด SMEs Success Caseไม่น้อยกว่า13 กิจการประมาณการผลกระทบทางเศรษฐกิจสามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาทนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่าปัจจุบันการแข่งขันทางการค้าและระบบเศรษฐกิจโลกมีการปรับเปลี่ยนจากเดิมโดยมีปัจจัยที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีระบบ เกิดประสิทธิภาพ และก้าวทันเทคโนโลยี ดังนั้นการนำระบบดิจิทัลมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะโปรแกรมซอฟต์แวร์สำเร็จรูปถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากจะช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานและลดปริมาณการใช้กระดาษแล้ว ยังให้บริการบนระบบคลาวด์ (Cloud) ซึ่งเป็นระบบประมวลผลเก็บข้อมูลโดยผู้ประกอบการสามารถดึงข้อมูลจากที่ใดของโลกก็ได้ที่มีอินเตอร์เน็ตและสามารถใช้งานได้พร้อมกันหลายคนทำให้เกิดความสะดวกสบาย ง่ายต่อการบริหารจัดการ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีองค์ความรู้ในการนำระบบดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)จึงได้ร่วมมือกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบดิจิทัลบริหารจัดการธุรกิจภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล(Digital for SMEs) เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยระบบดิจิทัลบริหารจัดการธุรกิจให้กับภาคการผลิต ภาคการค้าและบริการ จำนวน 130 กิจการ ประกอบด้วย ภาคการผลิต 13 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่1. อาหารแปรรูป 2. เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3. ยานยนต์และชิ้นส่วน 4. เซรามิกและแก้ว5. รองเท้าและเครื่องหนัง 6. สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 7. เหล็ก 8. ยา 9. พลาสติก 10. เครื่องจักรกล 11. ซอฟต์แวร์12. สิ่งพิมพ์ และ13. อู่ต่อเรือ รวมถึงภาคการค้าและบริการ และสาขาอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง“สำหรับการดำเนินงานนั้น จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและโปรแกรมซอฟต์แวร์สำเร็จรูป จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัทซอฟต์แวร์ เข้าเยี่ยมสถานที่ประกอบกิจการเพื่อให้คำปรึกษาและวินิจฉัยธุรกิจ เพื่อคัดสรรระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการธุรกิจที่เหมาะสมกับกิจการนั้น ๆ เช่น ระบบการผลิตการขาย การบัญชี การบริหารบุคคล และการจัดการสินค้าคงคลังโดยให้บริการผ่านระบบCloud Computingในรูปแบบ SaaS (Software as a Service) สามารถใช้งานได้โดยผ่านเครือข่าย Internet นอกจากนี้การดำเนินการดังกล่าว ยังสามารถช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ไทย เข้าสู่ตลาดการแข่งขันที่ทัดเทียมกับสากลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้นไปตามโมเดลไทยแลนด์ 4.0 ทั้งนี้ กสอ. ตั้งเป้าในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำนวน 130 กิจการ ในการนำระบบดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบจำนวนไม่น้อยกว่า 85 กิจการ หรือ คิดเป็นร้อยละ 65และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต จำนวนไม่น้อยกว่า 91 กิจการ หรือคิดเป็นร้อยละ 70ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณการผลกระทบทางเศรษฐกิจสามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาทนอกจากนี้ คาดว่าจะก่อให้เกิดผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการนำระบบดิจิทัลบริหารจัดการธุรกิจไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจ จำนวนไม่น้อยกว่า 13 กิจการหรือ ร้อยละ 10” นายกอบชัย กล่าวทิ้งท้าย
01 เม.ย. 2019
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม” รุกดึงดิจิทัลหนุนเอสเอ็มอี ดันเพิ่มศักยภาพ 130 กิจการทุกภูมิภาค
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เดินหน้าโครงการ Digital for SMEs นำระบบดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ หวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตั้งเป้า SMEs 130 กิจการจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศใน 3 สาขาหลัก ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้า และบริการ สามารถสร้างยอดขาย ลดต้นทุนการผลิต นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันการแข่งขันทางการค้าและระบบเศรษฐกิจโลกมีการปรับเปลี่ยนจากเดิม โดยมีปัจจัยที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีระบบ เกิดประสิทธิภาพ และก้าวทันเทคโนโลยี ดังนั้นการนำระบบดิจิทัลมาใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะโปรแกรมซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานและลดปริมาณการใช้กระดาษแล้ว ยังให้บริการบนระบบคลาวด์ (Cloud) ซึ่งเป็นระบบประมวลผลเก็บข้อมูล โดยผู้ประกอบการสามารถดึงข้อมูลจากที่ใดของโลกก็ได้ที่มีอินเตอร์เน็ต และสามารถใช้งานได้พร้อมกันหลายคน ทำให้เกิดความสะดวกสบาย ง่ายต่อการบริหารจัดการ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความรู้ในการนำระบบดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม สำหรับภาคการผลิต 13 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1. อาหารแปรรูป 2.เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3.ยานยนต์และชิ้นส่วน 4.เซรามิกและแก้ว 5.รองเท้าและเครื่องหนัง 6.สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 7.เหล็ก 8.ยา 9.พลาสติก 10.เครื่องจักรกล 11.ซอฟต์แวร์ 12.สิ่งพิมพ์ และ 13.อู่ต่อเรือ นอกจากนี้ยังรวมถึงภาคการค้า และบริการ และสาขาอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง “สำหรับการดำเนินงาน จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและโปรแกรมซอฟต์แวร์สำเร็จรูปจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ซอฟต์แวร์ฯ เข้าเยี่ยมสถานที่ประกอบกิจการ เพื่อให้คำปรึกษาและวินิจฉัยธุรกิจ เพื่อคัดสรรระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการธุรกิจที่เหมาะสมกับกิจการนั้น ๆ เช่น ระบบการผลิต การขาย การบัญชี การบริหารบุคคล และการจัดการสินค้าคงคลัง โดยให้บริการผ่านระบบ Cloud Computing ในรูปแบบ SaaS สามารถใช้งานได้โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป หันมาซื้อสินค้าและบริการผ่านออนไลน์ รวมถึงทำธุรกรรมอื่นๆ ผ่านออนไลน์มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางการทำการตลาดใหม่ๆ ให้ผู้ประกอบการ” อธิบดีกล่าว อย่างไรก็ตามเชื่อว่าโครงการทั้งหมดจะสามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้มีรายได้เข้าประเทศถึงปีละ 1 พันล้านบาท แนวโน้มในอนาคตจะมีมูลค่าที่สูงขึ้น หากเอสเอ็มอีไทยหันมาใช้นวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้น
01 เม.ย. 2019
วันที่ 1 เม.ย. 2562 กพ.กท.กสอ. จัดประชุมคณะกรรมการกำกับและดูแลโครงการ Cleantech Programme for SMEs in Thailand
วันที่ 1 เม.ย. 2562 กพ.กท.กสอ. จัดประชุมคณะกรรมการกำกับและดูแลโครงการ Cleantech Programme for SMEs in Thailand ครั้งที่ 3/2562 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคาร กสอ. โดยมี รสอ.จารุพันธุ์ จารโยภาส ให้เกียรติเป็นประธานการประชุม และ นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผอ.กท. เป็นรองประธานฯ
01 เม.ย. 2019
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม โดยกลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร สร้าง VDO Content แสนง่าย สร้างรายได้หลักล้าน โครงการยกระดับ SMEs สู่ Global
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม โดยกลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร สร้าง VDO Content แสนง่าย สร้างรายได้หลักล้าน โครงการยกระดับ SMEs สู่ Global ด้วยการค้าออนไลน์ ในวันที่ 29 มีนาคม 2562 ณ โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี โดยมีนายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมีผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดใกล้เคียง เข้ารับการฝึกอบรมจำนวนกว่า 80 คนทั้งนี้ กิจกรรมฝึกอบรมวันนี้ เป็นหลักสูตรสุดท้าย ของการอบรม E-Commerce งบกองทุนพัฒนา เอส เอ็ม อี ตามแนวประชารัฐ สิ้นสุดเดือน มีนาคม 2562
01 เม.ย. 2019
กสอ. รุกเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการด้วยระบบ Digital for SMEs หวังผลักดันสู่ SMEs 4.0 กรุงเทพฯ 29 มีนาคม 2562 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนากิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ SMEs
กสอ. รุกเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการด้วยระบบ Digital for SMEs หวังผลักดันสู่ SMEs 4.0 กรุงเทพฯ 29 มีนาคม 2562 นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนากิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบดิจิทัล บริหารจัดการธุรกิจ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวรายงาน ณ โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์พอยต์ เทอร์มินอล 21 กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) เพื่อเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อน SMEs สู่อุตสาหกรรม 4.0 และพัฒนาศักยภาพพร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยระบบดิจิทัลบริหารจัดการธุรกิจให้กับภาคการผลิต ภาคการค้า และบริการ ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการ จำนวน 130 กิจการ โดยการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมและโปรแกรมซอฟต์แวร์สำเร็จรูปจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ซอฟต์แวร์ เข้าเยี่ยมสถานที่ประกอบกิจการ เพื่อให้คำปรึกษาและวินิจฉัยธุรกิจ เพื่อคัดสรรระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการธุรกิจที่เหมาะสมกับกิจการนั้น ๆ เช่น ระบบการผลิต การขาย การบัญชีการบริหารบุคคล และการจัดการสินค้าคงคลัง โดยให้บริการผ่านระบบ Cloud Computing ในรูปแบบ SaaS (Software as a Service) สามารถใช้งานได้โดยผ่านเครือข่าย Internet ทั้งนี้ กสอ. ตั้งเป้าส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการนำระบบดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ จำนวนไม่น้อยกว่า 85 กิจการ หรือ ร้อยละ 65 และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต จำนวนไม่น้อยกว่า 91 กิจการ หรือ ร้อยละ 70 ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม และคาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 เม.ย. 2019
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม โดยกลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร ขายออนไลน์ให้รวยด้วยภาพ โครงการยกระดับ SMEs สู่ Global
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม โดยกลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร ขายออนไลน์ให้รวยด้วยภาพ โครงการยกระดับ SMEs สู่ Global ด้วยการค้าออนไลน์ ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 2562 ณ โรงแรมเดอะเบเคลีย์ ประตูน้ํา กรุงเทพ ซึ่งมีผู้ประกอบการ SMEs เข้ารับการฝึกอบรมจำนวนกว่า 100 คน
26 มี.ค. 2019
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม โดยกลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดพิธีมอบโล่ Best Practice จำนวน 6 กิจการ
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม โดยกลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดพิธีมอบโล่ Best Practice จำนวน 6 กิจการ ให้กับ ผู้ประกอบการที่ ผ่านการอบรมหลักสูตร ขายสินค้าออนไลน์ และมียอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล ได้ร่วมเสวนาพิเศษ "แกะรอยความสำเร็จ 6 เคสเด็ด Digital Marketing" เป็นกิจกรรม ภายใต้โครงการยกระดับ SMEs สู่ Global ด้วยการค้าออนไลน์ ในวันจันทร์ ที่ 25 มีนาคม 2562 ณ โรงแรมไพร์ม สเตชั่น กรุงเทพฯ โดยมีนายโดม ถนอมบูรณ์ ผกบ.กท. ให้เกียรติเป็นประธานมอบโล่ห์ โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม 30 ราย ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวใช้งบประมาณ จากกองทุนพัฒนา เอส เอ็ม อี ตามแนวทางประชารัฐ
26 มี.ค. 2019
วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2562 คณะทำงาน Happy Workplace กท.กสอ. ได้ติดตามและให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ คณะทำงาน Happy Workplace บริษัท ซินโก เทคโนโลยี จำกัด จ.ปทุมธานี
วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2562คณะทำงาน Happy Workplace กท.กสอ.ได้ติดตามและให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ คณะทำงาน Happy Workplace บริษัท ซินโก เทคโนโลยี จำกัด จ.ปทุมธานี โดยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกในเรื่อง...- การพิจารณาคัดเลือกกิจกรรมสร้างสุขในองค์กร- การพิจารณา outcome ในด้าน Happy 8 + Productivity 7 + ค่านิยม SINCO- การปรับปรุงโครงสร้างกิจกรรมสร้างสุข- การปรับปรุงแผนการสร้างสุขตลอดที่เข้าร่วมโครงการ ต.ค.2561 - พ.ย.2562- การเก็บข้อมูล Productivity 7 ของ SIBNCOพร้อมทั้งเยี่ยมชม กระบวนการผลิตเพื่อวางแผนการอบรมด้านไคเซ็นส์ และสิ่งแวดล้อมเตรียมความพร้อมกับการประกวดอุตสาหกรรมดีเด่นด้านบริหารจัดการ และองค์กรต้นแบบ Happy Workplaceณ บริษัท ซินโก เทคโนโลยี จำกัด
25 มี.ค. 2019
วันที่ 20 มีนาคม 2562 นายชาญเดช พิสิษฐ์ไพบูลย์ วิศวกรชำนาญการพิเศษ และนายแววพงศ์ แววฉิมพลี วิศวกรปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ กท.กสอ. ได้เข้ากำกับติดตามงานกิจกรรมการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น (Value Add)
วันที่ 20 มีนาคม 2562นายชาญเดช พิสิษฐ์ไพบูลย์ วิศวกรชำนาญการพิเศษ และนายแววพงศ์ แววฉิมพลี วิศวกรปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ กท.กสอ. ได้เข้ากำกับติดตามงานกิจกรรมการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น (Value Add) พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ภายใต้โครงการ "ปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ" โดยเข้าไปสอบถามข้อมูลผู้ประกอบการ1.)วิสาหกิจชุมชนคนรักแม่ ต.หนองหลวง อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร2.)สหกรณ์การเกษตรผู้ผลิตอินทรีย์บ้านกว้าว ต.บ้านน้ำพุ อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย3.)วิสาหกิจชุมชนตามรอยพ่อชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงตำบลบ้านน้ำพุ ต.บ้านน้ำพุ อ.คีรีมาศ จ. สุโขทัย
21 มี.ค. 2019
วันที่ 19 มีนาคม 2562 นายชาญเดช พิสิษฐ์ไพบูลย์ วิศวกรชำนาญการพิเศษ และนายแววพงศ์ แววฉิมพลี วิศวกรปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ กท.กสอ.
วันที่ 19 มีนาคม 2562นายชาญเดช พิสิษฐ์ไพบูลย์ วิศวกรชำนาญการพิเศษ และนายแววพงศ์ แววฉิมพลี วิศวกรปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ กท.กสอ. ได้เข้ากำกับติดตามงานกิจกรรมการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น (Value Add) พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ภายใต้โครงการ "ปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ" โดยเข้าไปสอบถามข้อมูลผู้ประกอบการ1.)วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและการพัฒนาการแปรรูประหาน ต.ระหาน อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร2.)กลุ่มเกษตรพอเพียงตำบลรังนก ต.รังนก อ.สามง่าม จ.พิจิตร3.)วิสาหกิจชุมชนลำใยบ้านตอรัง ต.หนองโสน อ.สามง่าม ต.พิจิตร4.)วิสาหกิจชุมชนประมงห้วยน้อย ต.มหาชัย อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร
20 มี.ค. 2019