กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจดวยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เข้ากำกับติดตามสถานประกอบการกิจกรรมเสริมแกร่งภาคการผลิตให้ดีพร้อมไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Factory on Cloud)
ในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล ติดตามและเยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท โพธิ์ทอง ไอซ์ 2016 จำกัด ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมแกร่งภาคการผลิตให้ดีพร้อมไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Factory on Cloud) สถานประกอบการประสบปัญหา ค่าไฟฟ้าที่สูง สาเหตุเกิดจากการทำงานของเครื่องจักรแต่ละครั้งไม่มีข้อมูล (Data) การใช้พลังงาน ส่งผลให้ไม่ทราบค่าการใช้พลังงานในแต่ละช่วงของการผลิต ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการพลังงานได้ดีพอ และไม่สามารถตรวจสอบ วางแผน และตัดสินใจในกระบวนการผลิตได้ จากการวินิจฉัยมีแนวทางในการติดตั้ง Sensor วัดกระแสไฟฟ้า (PZEM-004T Sensor) ซึ่งจะส่งข้อมูลจากการวัดกระแสไฟฟ้า (Electric Current) ไปยัง กล่องควบคุม (Control Box) ซึ่งใช้บอร์ด ESP32 ในการ Controller และส่งข้อมูลขึ้น Cloud Server แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์และแสดงผลเป็น Dashboard เพื่อติดตามและเก็บข้อมูล ทำให้ทราบข้อมูลพลังงานในแต่ละช่วงเวลา แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนกระบวนการผลิตต่อไป ซึ่งช่วยให้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้
31 ก.ค. 2024
กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจดวยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เข้ากำกับติดตามสถานประกอบการกิจกรรมยกระดับสถานประกอบการด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและดิจิทัลให้ดีพร้อม
ในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล ติดตามและเยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท อีแวนส์ เคมีเคิลส์ จำกัด ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมยกระดับสถานประกอบการด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและดิจิทัลให้ดีพร้อม สถานประกอบการประสบปัญหา การผลิตสินค้า(เคมีภัณฑ์) ในกระบวนการบรรจุภัณฑ์ (Filling Process) มีปัญหาทางด้านการผลิตเนื่องจาก การใช้แรงงานคนในการกรอกน้ำยาลงในขวดบรรจุภัณฑ์ ส่งผลให้ปริมาณการผลิตต่ำ กระบวนการล่าช้า และมีข้อผิดพลาดในการบรรจุที่น้ำหนักและปริมาตรของผลิตภัณฑ์ในแต่ละขวดไม่เท่ากัน ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ จากการวินิจฉัย กท.กสอ.พบว่า กระบวนการบรรจุภัณฑ์ (Filling Process) ควรนำระบบอัตโนมัติมาปรับใช้ในกระบวนการบรรจุน้ำยา โดยออกแบบเป็นต้นแบบเครื่องบรรจุน้ำยาอัตโนมัติ ซึ่งใช้โหลดเซลล์(Load Cell) วัดปริมาตรน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ เมื่อได้ปริมาตรตามที่ต้องการแล้ว ระบบจะส่งสัญญาณไปยัง Solenoid Valves เพื่อหยุดการดำเนินงานของการบรรจุน้ำยาลงในบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้ ข้อมูลน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว จะถูกบันทึกและส่งไปยังระบบ Could server เพื่อนำมาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ยของน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ และแสดงผลในรูปแบบ Dashboard ต่อไป ซึ่งผลการดำเนินงานคาดว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำยาขึ้น 50% เพิ่มโอกาสทางการตลาดในการผลิตภัณฑ์น้ำยา และลดความผิดพลาดจากการดำเนินงานของคน
31 ก.ค. 2024
กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจดวยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เข้ากำกับติดตามสถานประกอบการกิจกรรมการจัดการกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิิจทัล (IoT & Embedded Technology)
ในวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล ติดตามและเยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท วัน โอ ไฟว์ ดิจิตอลพริ้นติ้ง จำกัด และ บริษัท ซุปเปอร์แมน โฟม อินดัสตรี้ จำกัด ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิิจทัล (IoT & Embedded Technology) บริษัท วัน โอ ไฟว์ ดิจิตอลพริ้นติ้ง จำกัด สถานประกอบการประสบปัญหาการควบคุมอุณหภูมิความชื้นภายในห้องเครื่องพิมพ์ เนื่องจากเครื่องพิมพ์ พิมพ์ด้วยความเร็วเฉลี่ย 12 วินาที/แผ่น ทำให้เครื่องเกิดความร้อน ส่งผลให้ชิ้นส่วนของเครื่องมีอายุการใช้งานสั้นลง และทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหาย จึงจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิภายในห้อง จึงมีแนวทางในการติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อติดตาม ควบคุมอุณหภูมิและค่าความชื้นภายในห้อง ส่งข้อมูลขึ้น cloud แสดงผลเป็น Dashboard หากสภาพแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิและความชื้น ในห้องมีแนวโน้มเข้าขั้นวิกฤษ จะส่งแจ้งเตือนผ่านทาง Line โดยตรง บริษัท ซุปเปอร์แมน โฟม อินดัสตรี้ จำกัด ประสบปะัญหาไม่สามรถนับจำนวนของผลผลิต แบบ Realtime ได้ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบ วางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิต ทำให้เกิดการจัดการสต็อกผิดพลาด ส่งผลประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันขององค์กร จากการวินิจฉัย กท.กสอ. นำ Sensor นับจำนวน เพื่อตรวจนับชิ้นงาน โดยใช้บอร์ด ESP 32 เป็น controller ควบคุม ติดที่ท้ายไลน์ของเครื่องจักร และนำส่งข้อมูลเก็บที่ google sheet ผ่านโปรแกรม Power BI หลังจากนั้นนำข้อมูลดังกล่าว นำเสนอเป็น Dashboard
30 ก.ค. 2024
กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจดวยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เข้ากำกับติดตามสถานประกอบการกิจกรรมการเพิ่มความสามารถ SME ให้ดีพร้อมด้วย ERP
ในวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล ติดตามและเยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท โอปันฟู้ด จำกัด และ บริษัท ฮั่วเพ้งพลาสติก (1992) จำกัด ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมการเพิ่มความสามารถ SME ให้ดีพร้อมด้วย ERP บริษัท โอปันฟู้ด จำกัด ผลิตและส่งออกแป้าทอดกรอบและแป้งแพนเค้ก ประสบปัญหาทางด้านการจัดการข้อมูลระบบบัญชี ใช้คนและหลายโปรแกรมมาบริหารจัดการ ทำให้เกิดความผิดพลาดสูง จึงอยากนำระบบ ERP มาประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ จัดการการคลังสินค้า เพื่อลดความผิดพลาดการจัดการบัญชี ลดการใช้คน ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายอื่น ที่ไม่จำเป็น บริษัท ฮั่วเพ้งพลาสติก (1992) จำกัด ผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์ PVC เช่นถุงใส่เครื่องนอน สถานประกอบการใช้ระบบ Manual ในการบริหารจัดการข้อมูลบัญชี ทำให้เกิดความผิดพลาดสูง จึงอยากนำระบบ ERP มาประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการด้านการฝากซื้อและฝากขาย ซึ่งต้องการทราบข้อมูลยอดการซื้อขายเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์วางแผนการจัดการบัญชีต่อไป
25 ก.ค. 2024
กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจดวยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เข้ากำกับติดตามสถานประกอบการกิจกรรมการเพิ่มความสามารถ SME ให้ดีพร้อมด้วย ERP
ในวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล ติดตามและเยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท เอสเคอส - ไอที จำกัด และ บริษัท เมอร์ริค พอลิเมอร์ จำกัด ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมการเพิ่มความสามารถ SME ให้ดีพร้อมด้วย ERP บริษัท เอสเคอส - ไอที จำกัด ต้องการลดเวลาการทำงานและข้อมูลที่เป็น Real Time จึงได้ใช้โปรแกรมเข้ามาช่วยในกระบวนการการผลิต จัดซื้อ QC QA และบัญชี สามารถติดตามสถานะได้แบบ Real Time ทำให้วางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บริษัท เมอร์ริค พอลิเมอร์ จำกัด ต้องการทราบปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้นจริงเนื่องจากปัจจุบันใช้ excel และ Google sheet ในการทำงานที่ผูกสูตรเองทำให้เกิดความล่าช้าในการแก้ไขปัญหา จึงนำโปรแกรม ERP เข้ามาช่วยทำให้สถานประกอบการสามารถวางแผนการผลิตได้ ลดขั้นตอนการทำงาน การบริหารจัดการออเดอร์ ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น และเห็นข้อมูลแบบ Real time
23 ก.ค. 2024
กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ติดตามสถานการดำเนินงานกิจกรรมเสริมแกร่งภาคการผลิตให้ดีพร้อมไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล
ในวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัลเข้าติดตามสถานประกอบการ ณ บริษัท ฟู้ด กราวิตี้ จำกัด ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมแกร่งภาคการผลิตให้ดีพร้อมไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Factory on Cloud) วินิจฉัย เนื่องจากมีความแตกต่างของอุณหภูมิน้ำเข้าและน้ำออกในกระบวนการล่อเย็นที่เครื่องเป่าขวดพลาสติกที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชิ้นงาน จึงต้องการทราบค่าอุณภูมิน้ำเข้าและน้ำออก ให้คำปรึกษา ปรับปรุงระบบ IOT - EMBEDDED TECHNOLOGY& CLOUD INDUSTRYแก่สถานประกอบการ ด้วยการติดตั้งระบบ IOT เพื่อวัดค่าอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น เข้า-ออก โดยติดตั้งอุปกรณ์อ่านค่าอุณหภูมิ และบันทึกค่าเพื่อนำไปสู่การเฝ้าตรวจติดตามค่าอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นทั้งขาเข้า และขาออก เพื่อเปรียบเทียบค่าอุณหภูมิที่แตกต่างและติดตั้งอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อสัญญาณขึ้นระบบ Cloud จาก sensor เพื่อจัดเก็บข้อมูลและนำข้อมูลมาประมวลและแสดงผลเป็น Dashboard พร้อมทั้งมีการแจ้งเตือนเมื่อค่าของอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นที่เข้าหล่อเย็น โมล สูงกว่าปกติ เพื่อทางช่างเทคนิคเข้าควบคุมเครื่องจักรได้ทันท่วงที ซึ่งสามารถลดของเสียจากการผลิตแล้ว ยังลดปัญหาจากความเสียหายจากการซ่อมบำรุงจักรได้อีกด้วย
19 ก.ค. 2024
กลุ่มเพิ่มขีดความวิสาหกิจด้วยดิจิทัล กองพัฒนาดิจทัลอุตสาหกรรมเข้ากำกับติดตามสถานประกอบกิจกรรมการเพิ่มความสามารถ SME ให้ดีพร้อมด้วย ERP
ในวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล ติดตามและเยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท ศ.เพิ่มสิน การช่าง จำกัด ดำเนินธุรกิจผลิตประตู หน้าต่าง ราวกันตกอะลูมิเนียมพร้อมงานบริการติดตั้ง ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมการเพิ่มความสามารถ SME ให้ดีพร้อมด้วย ERP เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธฺภาพการจัดการกระบวนการทำงานให้เป็นระบบ ลดความความผิดพลาด ลดขั้นตอนการทำงาน จึงเลือกใช้โมดูลระบบขายในการจัดการเปิดใบสั่งขาย ใบส่งของ วางบิล และส่งขาย เพื่อลดความผิดพลาด ลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยการจัดการผลิตนำผลวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการจัดการสถานประกอบการต่อไป
19 ก.ค. 2024
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ากำกับติดตามสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมแกร่งภาคการผลิตให้ดีพร้อมไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Factory on Cloud)
ในวันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจด้วยดิจิทัล เข้าติดตามสถานประกอบการ ณ บริษัท ซี.บี.แทค (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ซีเจแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมแกร่งภาคการผลิตให้ดีพร้อมไปกับเทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Factory on Cloud)
12 ก.ค. 2024
กลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม ติดตามการดำเนิน กิจกรรม Web Design ภายใต้กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ SMEs ไทยให้ดีพร้อมด้วยโมเดลธุรกิจดิจิทัล e-Commerce 4.0 บริษัท สินพิริยะอุตสาหกรรม จำกัด
วันที่ 4 กรกฏาคม 2567 นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เข้ากำกับและติดตามการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญในสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม Web Design ภายใต้กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ SMEs ไทยให้ดีพร้อมด้วยโมเดลธุรกิจดิจิทัล e-Commerce 4.0 บริษัท สินพิริยะอุตสาหกรรม จำกัด ได้ขอรับบริการด้าน ผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมกิจกรรม WEB DESIGN เพื่อ เพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ เพื่อสร้างตัวตน สร้างการรับรู้แบรนด์ และประชาสัมพันธ์ การทำ SEO SEM เพื่อให้ติดหน้าแรกใน Google การทำภาพ Graphic Design การทำ Advertising ผ่าน Google Ads การทำ AI Photoshoot Video Editing ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้สถานประกอบการมี ความน่าเชื่อถือ และผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ ใช้ในกิจการ สามารถสร้างยอดขายและเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น
04 ก.ค. 2024
กลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม ติดตามการดำเนิน กิจกรรม Web Design ภายใต้กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ SMEs ไทยให้ดีพร้อมด้วยโมเดลธุรกิจดิจิทัล e-Commerce 4.0 บริษัท ยูมีดี เน็ตเวิร์ก จำกัด
วันที่ 2 กรกฏาคม 2567นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรดิจิทัลอุตสาหกรรม กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม เข้ากำกับและติดตามการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญในสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม Web Design ภายใต้กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ SMEs ไทยให้ดีพร้อมด้วยโมเดลธุรกิจดิจิทัล e-Commerce 4.0 บริษัท ยูมีดี เน็ตเวิร์ก จำกัด ได้ขอรับบริการด้าน ผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมกิจกรรม WEB DESIGN เพื่อ - ผู้ประกอบการต้องการทำเว็บไซต์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ - เพิ่มเติมความรู้ให้สามารถนำไปถ่ายทอดแก่สมาชิกเครือข่ายได้ -มีความสนใจการทำ SEO SEM เพื่อให้ติดหน้าแรกใน Google -ปรับเว็บไซต์เดิม และการสร้างเว็บไซต์ใหม่ -การทำภาพ Graphic Design -การทำ Advertising -การทำ AI Photoshoot Video Editing -เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า -มีหน้าร้านเป็นของตนเอง -เพื่อนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในกิจการสามารถสร้างยอดขายและเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น
02 ก.ค. 2024